วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

จิตสำนึกในการใช้วิทยุสื่อสาร



จากการที่ความต้องการในการใช้วิทยุสื่อสารไม่ได้ลดน้อยถอยลง ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีในการสื่อสารจะพัฒนาไปมากเพียงใดก็ตาม แต่กลับมีผู้ต้องการใช้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอาสาสมัคร เช่น อปพร. หน่วยกู้ชีพ หน่วยกู้ภัย ซึ่งบางท่านก็มีความรู้เกี่ยวกับวิทยุสื่อสารเป็นอย่างดี อีกทั้งได้ผ่านการอบรมหรือการสอบการใช้ฟังวิทยุสื่อสารมาแล้ว

แต่บางท่านก็ไม่รู้อะไรมากไปกว่าการแอบเปิดฟังข่ายราชการเท่านั้น
         
แต่ที่หนักไปกว่านั้นก็คือเกิดคันไม้คันมือกดคีย์ออกอากาศ จะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตามแล้วก่อให้เกิดการรบกวนการประสานงานของหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวกับความมั่นคงแห่งชาติ ก็อาจโดนจับกุมดำเนินคดีมีโทษทั้งจำคุกและปรับ เดือดร้อนกันไปเปล่าๆ

        ปัญหาอีกอย่างหนึ่งก็คือ ผู้ที่มีเครื่องเปิดแบนด์อยู่ ได้ตั้งความถี่ขึ้นใช้เรียกขานในกลุ่มของตนเอง โดยขาดความรู้ความเข้าใจ โดยหารู้ไม่ว่า ความถี่ตลอดย่านจะมีหน่วยงานต่างๆ ใช้งานกันอยู่ตลอด เช่น หน่วยงานเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งชาติ บก.ทหารสูงสุด ตำรวจ ปกครองกิจการวิทยุสมัครเล่น เป็นต้น

         ตลอดย่านความถี่ VHF ตั้งแต่ 136.000 MHz จนถึง 174.000 MHz จะมีหน่วยงานต่างๆ ใช้งานอยู่จนเต็มตามที่ได้รับจัดสรรตลอดทั้งย่าน


         อยากใช้ให้ถูก..... ไม่อยากเล่นเถื่อน...

         ก็แค่เล่นวิทยุ ไม่เห็นต้อง จับ – ปรับ – ขัง เล้ย
         แหม...คุณก็... นี่มันเกี่ยวกับความมั่นคงของชาตินี่ครับ

         หากว่าใครๆ ก็ใช้ อยากตั้งความถี่อะไรก็ตั้งหน่วยงานราชการ, หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็คงประสานงานกันไม่ได้ผล ประชาชนก็ไม่มีความสุข ชาติบ้านเมืองก็คงวุ่นวาย เมื่อเกิดสาธารณภัยก็ไม่สามารถให้ความช่วยเหลือได้ทันท่วงที

         ใน พรบ. วิทยุคมนาคม ก็ได้มีการกล่าวถึงความผิดต่างๆ ที่เกี่ยงข้องกับการใช้วิทยุคมนาคมไว้หลายข้อด้วยกันจะขอยกมากล่าวเฉพาะที่ใกล้ๆ ตัวสักเล็กน้อย


ฐานความผิด/อัตราโทษ
1.มีและใช้ซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับใบอนุญาต
ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท จำคุกไม่เกิน 5 ปี
หรือทั้งจำทั้งปรับ

2.ตั้งสถานีวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับใบอนุญาต
ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท จำคุกไม่เกิน 5 ปี
หรือทั้งจำทั้งปรับ

3.ใช้ความถี่ที่ไม่ได้รับอนุญาต   
บไม่เกิน 1 แสนบาท จำคุกไม่เกิน 5 ปี 
หรือทั้งจำทั้งปรับ

4.เป็นพนักงานวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับใบอนุญาต อัตราโทษ             
ปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาทจำคุกไม่เกิน 2 ป
ี หรือทั้งจำทั้งปรับ


แล้วอย่างนี้จะรู้ได้ไง... ว่ามีสิทธิ์ใช้แบบไหน...? (เห็นใช้มั่วไปหมด)

         เครื่องวิทยุคมนาคมแบบสังเคราะห์ความถี่ มีอยู่ 2 ประเภท

1. เครื่องวิทยุคมนาคมแบบสังเคราะห์ความถี่ ประเภท 1 ผู้ใช้ตั้งความถี่ได้เองจากภายนอกเครื่อง
หน่วยงานที่มีสิทธิ์ใช้ได้แก่
    1.กองทัพบก
    2.กองทัพอากาศ
    3.ทัพเรือ
    4.สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
    5.สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
    6.สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
    7.กรมศุลกากร
    8.สำนักข่าวกรองแห่งชาติ
    9.สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
    10.กระทรวงมหาดไทย เฉพาะบุคคลที่ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้
ปลัดกระทรวงมหาดไทยและรองปลัดกระทรวงมหาดไทย
เลขานุการปลัดกระทรวงมหาดไทยและเลขานุการรองปลัดกระทรวงมหาดไทย
กิจการวิทยุสมัครเล่น

2. เครื่องวิทยุคมนาคมแบบสังเคราะห์ความถี่ประเภท 2 (ผู้ใช้ตั้งความถี่เองไม่ได้)
ผู้ที่มีสิทธิ์ใช้ได้แก่
1.บุคคลที่มีฐานะดังนี้
    1.1.เป็นข้าราชการทุกระดับ พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานองค์การของรัฐ ลูกจ้างประจำ
    1.2เป็นพนักงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา สภาตำบล องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆ
    1.3ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน กำนัน สารวัตรกำนัน หรือแพทย์ประจำตำบล
    1.4เป็นบุคคลธรรมดา ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ความถี่ร่วมกับหน่วยราชการ หรือ รัฐวิสาหกิจอื่นที่ได้รับจัดสรรความถี่วิทยุ
2.ผ่านการฝึกอบรม การใช้เครื่องวิทยุแบบสังเคราะห์ความถี่ประเภท 2 และตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับการสื่อสาร พ.ศ. 2525
3.ต้องได้รับความเห็นชอบ จากหัวหน้า หน่วยงานราชการหรือรัฐวิสาหกิจ แล้วแต่กรณีว่ามีความจำเป็นต้องใช้เครื่องวิทยุคมนาคมแบบสังเคราะห์ความถี่ ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามกฏหมายวิทยุคมนาคมและระเบียบที่ทางราชการกำหนด

ทำยังไง..? ถึงจะมีสิทธิใช้โดยถูกต้อง

ง่ายๆ หากต้องการใช้วิทยุสื่อสารให้ถูกต้องให้ยึดหลัก “3 ค” ดังจะกล่าวต่อไปนี้
ค. ที่ 1 ความถูกต้อง คือ ต้องอยู่ในย่านความถี่ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
ค. ที่ 2 เครื่องถูกต้อง คือได้มาตามขั้นตอนตามกฏหมาย เช่นนำเข้าโดยถูกต้องและได้เสียภาษีนำเข้ากับกรมศุลกากรและเครื่องจะมีหมายเลข กทช. กำกับ
ค. ที่ 3 คนถูกต้อง ซึ่งหมายความว่าผู้ใช้ต้องผ่านการอบรมหรืออบรมและสอบหรือสอบ เช่นผู้ที่ใช้ร่วมข่ายราชการต้องผ่านการอบรมการใช้วิทยุสังเคราะห์ความถี่ตามระเบียบที่กำหนด ผู้ที่ใช้ความถี่ข่ายวิทยุสมัครเล่นต้องผ่านการอบรมและสอบหรือการสอบเพื่อรับใบประกาศพนักงานวิทยุสมัครเล่น

ดังนั้น ไม่ว่าจะใช้ร่วมข่ายราชการ หรือเป็นนักวิทยุสมัครเล่น ที่สำคัญ ต้องทำให้ตนเองมีสิทธิ์ก่อน เช่น หากเป็น อปพร. ก็ต้องผ่านการอบรมการใช้วิทยุสังเคราะห์ความถี่ประเภทสอง และต้องเป็นการอบรมโดยกองการสื่อสารกรมการปกครอง
แต่ อปพร. อาสาสมัคร รวมทั้งภาคเอกชน ยังมีทางเลือกอีกหนึ่งทาง นั่นก็คือ  การใช้วิทยุย่านความถี่ประชาชน ซึ่งก็มีทั้ง CB27 MHz 78 MH, 245 MHz โดยเฉพาะอย่างยิ่งความถี่ประชาชนย่าน 245 MHz ประสิทธิภาพทุกอย่างก็ไม่ด้อยไปกว่าเครื่องข่ายราชการหรือสมัครเล่นเลย 



ข้อมูลจาก
เอกสารประกอบการอบรมการใ้ช้วิทยุฯแบบสังเคราะห์ความถี่ กรมไปรษณีย์โทรเลข


http://MoneyandTask.com/?refid=61365

1 ความคิดเห็น: