วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2559

5ปัจจัย ที่ส่งผล ว.แรงหรือร่วง

เวลาเราจะซื้อวิทยุสื่อสารสักเครื่องมักจะมีหลายคำถามเกี่ยวกับสเปคเครื่องเกิดขึ้น และหนึ่งในหลายคำถามนั้นก็คงจะไม่พ้นความแรงของเครื่อง ที่เจ้าของอยากรู้ก่อนจะได้ครอบครองวิทยุคู่ใจ ในฐานะนักวิทยุสมัครเล่น ก็ควรจะรู้ถึงปัจจัยต่างๆที่ส่งผลต่อการรับ-ส่งสัญญาณวิทยุฯ ไว้บ้างก็จะช่วยเวลาใช้งานได้ครับ
เป็นอีกเรื่องที่แฮมมีดีมักจะถูกถามจากแฟนๆอยู่เสมอ “เครื่องนั้นแรงมั้ย เครื่องนี้ส่งไกลรึเปล่า” แต่คนเหล่านั้นจะรู้หรือไม่ว่าเครื่องจะรับส่งได้ดีหรือไม่ดี มันมีหลายปัจจัยประกอบกันมากมาย และเป้นเรื่องที่นักวิทยุสมัครเล่นไม่ควรมองข้าม มาดูกันครับว่ามีอะไรบ้าง
1.ตัวเครื่องวิทยุสื่อสาร (Radio)
ตัวเครื่องมีความพร้อมแค่ไหน มีปัญหารึเปล่า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในเครื่องทำงานเป็นปกติหรือไม่ อันนี้เป็นปัจจัยสำคัญอีกข้อหนึ่งเลยครับ ทั้งนี้อาจจะรวมไปถึงเครื่องที่ไม่ได้มาตราฐานด้วยนะครับ อย่างเครื่องปลอม เครื่องทำเลียนแบบของลิขสิทธิ์ อันนี้ต้องทำใจครับ วิทยุสื่อสารยี่ห้อเดียวกับกับเพื่อน แต่ทำไมของเพื่อรับสัญญาณได้ดีกว่าเรา แบบนี้ก็มีมาแล้ว สรุปแล้วคือภาพรวมของตัวเครื่องครับ ระบบต่างๆภาพใน เป็นกลไกสำคัญเลยล่ะครับ
2.สายอากาศ (Antenna)
สายอากาศเป็นอีกสิ่งที่มองข้ามไม่ได้ เพราะการรับ-ส่งสัญญาณวิทยุฯที่มีสายอากาศไม่เหมาะสม อาจส่งผลเสียต่อตัวเครื่องวิทยุสื่อสารได้ นอกจากนี้การเลือกประเภทสายอากาศให้เหมาะสมกับการรับ-ส่งสัญญาณวิทยุ ก็จะทำให้การสื่อสารครั้งนั้นๆเป็นผลดีตามมาด้วยครับ เพราะอย่าลืมว่าสายอากาศนั้นทำหน้าที่ทั้งรับและส่งสัญญาณ ฉะนั้นต้องคำนึงถึงทั้งตอนรับและตอนส่งด้วย จริงอยู่ว่าสายอากาศยิ่งสูงยิ่งส่งสัญญณวิทยุฯได้ดี แต่ก็จะรับสัญญาณขยะหรือคลื่นรบกวนได้ดีเช่นกัน ซึ่งอาจทำให้เรารับสัญญาณจากเพื่อนนักวิทยุสมัครเล่นที่เรากำลังติดต่ออยู่ไม่ได้ ยิ่งถ้าเพื่อนของเรามีกำลังส่งมาไม่มากพอก็จะยิ่งทำให้ผ่านสัญญาณขยะมาได้ยากขึ้น เพราะฉะนั้นจะดีกว่าถ้าสายอากาศที่เราใช้มีการแมทช์มาให้ตรงกับย่านความถี่ใช้งาน ก็จะช่วยได้เยอะครับ
3.กำลังส่ง (Power)
แหล่งกำเนิดพลังงานสำหรับวิทยุสื่อสารสำคัญไม่แพ้ 2ข้อแรกที่กล่าวมา เพราะต่อให้เรามีเครื่องวิทยุดี ระบบดี สายอากาศแมทช์มาดีแค่ไหน แต่พลังงานมีไม่เพียงพอ ก็จะทำให้ส่งสัญญาณวิทยุออกไปได้ไม่เต็มวัตต์ ระบบดีแค่ไหนก็จบครับถ้าไม่มีกำลังไฟ
นอกจากนี้ก็ยังมีเรื่องของความเสถียรของแรงดันไฟอีกด้วยครับที่อาจส่งผลต่อสัญญาณวิทยุ แต่วิทยุสื่อสารแบบมือถือที่มีแบตเตอรี่กระแสตรงแรงดันไฟไม่กี่สิบโวลต์ อาจจะไม่ส่งผลมากนักในเรื่องความเสถียรของแรงดันไฟ แต่ก็มีผลต่อกำลังวัตต์นะครับ เช่นถ้าแบตเตอรี่เต็มจะส่งได้ 5วัตต์ แต่ถ้าแบตเตอรรี่ต่ำกว่าครึ่ง อาจจะเหลือ 2.5วัตต์ เป็นต้น
4.สภาพอากาศ (Weather)
อากาศเป็นสิ่งที่เรามองไม่เห็นครับ สัมผัสได้จากความรู้สึกร้อน รู้สึกเย็น จึงเป็นสิ่งที่หลายคนมองข้ามไป จริงๆแล้วสภาพอากาศก็มีผลต่อการรับส่งสัญญาณวิทยุอย่างปฏิเสธไม่ได้ โลกของเราห่อหุ้มไว้ด้วยชั้นบรรยากาศ และชั้นบรรยากาศนี้เเหละที่มีผลต่อการนำสัญญาณของคลื่นวิทยุ ซึ่งจะเปลี่ยนไปตามสภาพของชั้นบรรยากาศแต่ละชั้น เช่น อุณหภูมิ ความชื่น เป็นต้น
(อ่านเรื่องชั้นบรรยากาศเพิ่มเติมได้ที่ http://www.hs8jyx.com/html/atmosphere.html ผู้เขียน เขียนไว้ได้อย่างละเอียดเลยล่ะครับ)
5.สถานที่ (Location)
หลายพื้นที่ถูกบรรดาเซียนขนานนามว่าเป็นโซนปราบเซียน เหตุเพราะบริเวณรอบๆจุดออกอากาศนั้นเต็มไปด้วยสายอากาศวิทยุน้อยใหญ่บ้าง เสาไฟฟ้าแรงสูงบ้าง ตึกรามบ้านช่องสูงระฟ้าบ้าง สิ่งเหล่านี้เป็นผลต่อการรับส่งสัญญาณวิทยุสื่อสารทั้งสิ้นครับ หรือเรามักจะได้ยินบ่อยๆว่ามุมอับสัญญาณ สำหรับเครื่องวิทยุสื่อสารแบบพกพาอาจจะได้เปรียบเพราะสามารถเคลื่อนที่ได้ ปรับเปลี่ยนจุดออกอากาศได้ แต่ถ้าเป็นสถานีวิทยุแบบประจำที่ก็ต้องวางแผนกันดีๆ ตั้งแต่เริ่มติดตั้งสถานีครับ เพราะคงจะเคลื่อนย้ายลำบากจริงมั้ย? ^_^
เห็นรึยังครับการที่นักวิทยุสมัครเล่นจะมีการสื่อสารที่ดีสักครั้งมีมากมายหลายปัจจัยประกอบเข้าด้วยกัน ฉะนั้นเราคงไม่สามารถที่จะหยิบเครื่องวิทยุสื่อสารขึ้นมาสักเครื่องแล้วบอกว่าเครื่องนี้ส่งดีหรือไม่ดี คงไม่มีใครตอบได้แบบครอบจักรวาลแบบนั้น แต่จากประสบการณ์การใช้งานของแต่ละคนก็อาจจะบอกได้ว่าวิทยุเครื่องรุ่นนั้นรุ่นนี้อึด ทนทานหรือไม่ นั้นเป็นเพราะวงจรที่ออกแบบมาดี โครงสร้างดี ทนความร้อน ทนการใช้งานติดต่อกันหลายชั่วโมงได้ แต่ก็ไม่ได้ความว่าจะส่งสัญญาณได้ดีนะครับ แต่แค่เป็นตัวบอกว่า เครื่องวิทยุสื่อสารรุ่นนี้ผ่านข้อ1 มาได้สบายๆนั้นเอง ยังมีอีก 4ข้อที่ต้องพิสูจน์
นอกจากนี้ก็ยังมีเรื่องของคู่สถานีของเราด้วยครับสำคัญไม่แพ้ 5ข้อนั้น ถ้าฝั่งเราในฐานะผู้ส่งสัญญาณวิทยุ มีปัจจัยต่างๆรอบข้างดีทุกข้อ แต่สถานีปลายทางที่จะรับสัญญาณวิทยุของเรา อยู่ไกลเกินไป อยู่ในมุมอับสัญญาณ อยู่ในโซนปราบเซียน มีสายอากาศที่ไม่ได้แมทช์มาให้ตรงย่าน หรือความสูงของสายอากาศไม่เพียงพอ ก็มีผลทำให้การรับสัญญาณนั้นไม่ดี หรือรับไม่ได้เลยก็ได้นะครับ

วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

SWR จริงและ SWR เสมือน



โดยปกติแล้วเวลาเราวัดค่า SWR ( standing wave ratio) เราจะวัดบริเวณใกล้ ๆ กับวิทยุรับส่ง ค่า SWR ที่ได้ไม่ใช่ค่า SWR ที่แท้จริง ถ้าเราต้องการวัดเพื่อหาค่าที่ถูกต้องเราจำเป็นต้องวัดที่ จุดต่อของสายอากาศ ส่วนค่า SWR ที่เราวัดได้ภายในสถานีเรามักจะเรียกว่าค่า SWR เสมือน ซึ่งค่านี้จะมีค่าน้อยกว่าค่า SWR ที่แท้จริงเสมอ ที่น้อยลงก็เกิดจากคลื่นสะท้อนจะถูกลดทอนในสายนำสัญญาณขณะที่เดินทางกลับมายังเครื่องส่งวิทยุ จึงทำให้ดูเหมือนว่าค่า SWR ดูดีขึ้น ยิ่งถ้าสายนำสัญญาณยิ่งยาวขึ้น ตัวเลขนี้ก็จะยิ่งดูดีขึ้น ค่า SWR เสมือนจะน้อยกว่าค่า SWR ที่แท้จริงเท่าไรนั้นขึ้นอยู่กับค่าการสูญเสียในสภาวะที่ Match ของสายนำสัญญาณที่ใช้





ตาราง สำหรับหาค่า SWR จริงเมื่อรู้ค่า SWR เสมือน (X หมายถึง SWR มีค่ามากกว่า 10)
ถ้าเราต้องการวัด SWR ที่แท้จริงของสายอากาศเราจะเป็นต้องปีนเสาขั้นไปวัดที่จุดต่อสายอากาศ แต่ก็คงไม่สะดวก แต่ถ้าเราจะวัด SWR ตอนที่สายอากาศอยู่บนพื้นดินค่า SWR ที่ได้จะไม่เหมือนกับที่ถูกติดตั้งอยุ่บนเสา เนื่องจาก
สถาพแวดล้อมต่างกัน ทางออกอีกวิธีก็คือใช้ตารางในการคำนวณหาค่า SWR ยกตัวอย่างเช่น วัดค่า SWR ที่ในสถานีได้ค่า 1.4:1 สายนำสัญญาณมีอัตราการสูญเสีย 3db ก็จะได้ค่า SWR ที่แท้จริงเป็น 2.0:1 เป็นต้น


จากตาราง พอจะสรุปได้ว่า ถ้าสายนำสัญญาณมีอัตราการสูญเสียมาก ค่า SWR จริง และค่า SWR เสมือนจะแตกต่างกันมาก



ขอบคุณข้อมูลดีดีจาก HS8JYX

http://MoneyandTask.com/?refid=61365


ทดสอบสัญญาณ ผ่านรีพีตเตอร์เพื่ออะไรกัน??


หลายครั้งที่ได้ยินเพื่อนๆแฮมพูด >:((บ่น)ถึงการทดสอบสัญญาณผ่านระบบรีพีตเตอร์ ว่าจะทดสอบไปเพื่ออะไรกัน(วะ) ทั้งๆที่ ตัวรีพีตเตอร์ ก็ใช้งานได้ และ เป็นการติดต่อแบบ Duplex ซึ่งมีการทวนสัญญาณ ให้สัญญาณติดต่อได้ในระยะที่ไกลขึ้นอยู่แล้่ว เฮ้อ…!! น่าจะเอาเวลามาทำอย่างอื่นนะ

หลังจากที่เราได้พูดถึง การเช็คเน็ท หรือการทดสอบสัญญาณบนความถี่วิทยุสมัครเล่นไปแล้ว ก็นึกถึงระบบรีพีทเตอร์ขึ้นมาว่า แล้วถ้าเป็นช่องความถี่ที่ใช้ระบบรับ - ส่งต่างความถี่(Duplex)ล่ะ การทดสอบสัญญาณจะเป็นอย่างไร…



อย่าลืมนะครับว่า การทดสอบสัญญาณวิทยุ ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อทดสอบความชัดเจนหรือระยะทางการติดต่อเท่านั้น ..แต่ยังมีจุดประสงค์อีกหลายๆอย่าง ที่พอจะมีประโยชน์ อยู่บ้างทั้งทางตรงและทางอ้อม

ลองมาดูกัน ว่า “เราทดสอบสัญญาณวิทยุกันไปเพื่ออะไร” กันบ้างนะ


เอาหลักๆเลย มาว่ากันเป็นข้อๆเลยนะ

1.เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับ โอเปเรเตอร์ และอุปกรณ์ ให้พร้อมต่อการ ติดต่อสื่อสารอยู่เสมอ(คนพร้อม เครื่องพร้อม)

2.เพื่อปรับแต่งอุปกรณ์และเครื่องรับ-ส่งวิทยุ ให้ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพสูงสุด

3. เพื่อรับฟังข่าวสารจากศูนย์ควบคุมข่าย ก่อนเริ่มทดสอบสัญญาณ(กรณีทดสอบสัญญาณกับสถานีควบคุมข่าย)

เหตุผล3ข้อนี้ ก็น่าจะเพียงพอต่อการสนับสนุนแนวคิดที่ว่า เราทดสอบสัญญาณบนความถี่รีพีทเตอร์เพื่ออะไร… ถ้าไม่ใช่เพื่อทดสอบทุกอย่าง ที่เป็นปัจจัยในการสื่อสาร ทั้งคน ทั้งเครื่อง ทั้งอุปกรณ์เสริมต่างๆ วันนี้เครื่องทำงานได้ดี พรุ่งนี้อาจจะมีเสียงแบล็กกราวด์เพิ่มเข้ามาก็ได้ หุหุ ;) ;) ;)

http://MoneyandTask.com/?refid=61365

145.0000MHz ช่องเรียกขานที่ถูกลืม!


นึกถึงสมัยตอนสอบ มีข้อสอบข้อหนึ่งที่ถามถึงช่องความถี่ 145.000Mhz ว่าคือช่องอะไร ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ยุคกี่สมัย เชื่อว่านักวิทยุสมัครเล่นทุกท่านคงรู้จักช่อง 145.000Mhz นี้เป็นอย่างดี แต่มีเพียงสักกี่ท่านที่ใช้ช่อง 145.000Mhz นี้ได้ดีและมีประสิทธิภาพ ??

ช่องเรียกขาน 145.000Mhz ดูเหมือนจะเป็นช่องเซ็นเตอร์ ช่องศูนย์กลาง เพราะอยู่กึ่งกลางช่วงความถี่ที่นักวิทยุสมัครเล่นสามารถใช้ได้ ดูไปดูมาก็เป็นเหมือนช่องหลัก หรือช่องที่จะต้องมีบทบาทสำคัญอะไรสักอย่าง เพราะอยู่ตรงกลางสุด เลขสวย จำง่าย(เกี่ยวกันมั้ย!!)
ย้อนไปในสมัยอดีตที่ก่อนจะเกิดกิจการวิทยุสมัครเล่นขึ้นมานั้น ช่องความถี่ที่สามารถใช้งานได้มีอยู่ 3ช่องเท่่านั้นครับ คือ 144.500MHz 144.600MHz 144.700MHz ต่อมาจึงได้มีการขยายความถี่เพิ่มอีก 1ช่อง คือ 145.00MHz เป็นช่องสำหรับแจ้งเหตุโดยศูนย์สายลมทำหน้าที่เป็นเน็ทคอนโทรล จนกระทั่งมีกิจการวิทยุสมัครเล่นเกิดขึ้นในปี 2530 ช่องความถี่จึงได้หลากหลายมากมายขนาดนี้ และช่องความถี่ 145.000Mhz ได้ถูกกำหนดเป็นช่องเรียกขานและแจ้งเหตุอย่างเป็นทางการ

ช่องเรียกขาน(Call Channel) คืออะไร???

หลักปฏิบัติของนักวิทยุสมัครเล่นถ้าว่ากันตามหลักแล้ว ช่อง 145.000Mhz จะเป็นช่องที่ไว้ใช้สำหรับ สแตนด์บายและเรียกขานยังไงน่ะหรอ??  ก็หากว่าคุณไม่ได้มีการติดต่อสนทนากับใครอยู่ ช่องนี้ก็เหมาะอย่างยิ่งที่คุณจะมาสแตนด์บาย

ประหนึ่งเหมือนเป็นช่องนัดพบ แบบไม่ได้นัดแนะ ของเหล่านักวิทยุสมัครเล่น

และเมื่อคุณต้องการจะเรียกใครหรือรอใครเรียก ก็ช่องนี้เหมือนกันครับ จะเรียก CQ(เรียกแบบไม่เจาะจงใครคนใดคนหนึ่ง เรียกลอยๆใครรับสัญญาณได้ก็สามารถตอบกลับได้) ไม่ว่าจะเรียก CQ หรือเรียกโดยระบุสัญญาณเรียกขาน(Call Sign) ก็สามารถทำได้ทั้งนั้นในช่องนี้ และหลังจากเรียกขานกันแล้ว ติดต่อได้แล้ว ก็จะต้องทำการย้ายช่องไปยังช่องที่เราเตรียมไว้หรือQSY เพื่อปล่อยให้ 145.000Mhz นั้นว่างสำหรับคนอื่นสแตนด์บาย และเรียกขานกันต่อไป

แต่ตอนนี้น่ะหรอ สิ่งที่ผมเห็นและได้ยินก็คือ ความว่างเปล่าของช่องความถี่ ทุกวันนี้ได้ยินแต่เสียงคนกดคีย์ อาจจะกำลังทดสอบเครื่อง หรือทดสอบสายกาศ วัดระดับ SWR หรืออะไรก็แล้วแต่ แต่ไม่ได้ยินเสียงใครเรียกหาใครเลย!!??
เพราะอะไรล่ะ ความถี่ถึงเงียบ??

พูดยากครับ นานจิตตัง สำหรับผมมุมมองแว๊บแรกสำหรับช่องเรียกขานนี้คือ เขามีไว้ให้เรียกขานนะ ไม่ได้มีเอาไว้คุย(จริงๆก็ถูก) และผมตั้งใจจะเปิดเครื่องมาคุยนี่นา ผมก็ไม่เลยไม่มาใช้ช่องเรียกขาน 145.000Mhz นี้เลย ??!!

แล้วผมไปไหน? ก็ไปรอContact ขอติดต่อพูดคุยกับเพื่อนตามช่องต่างๆที่ผมสแกนเจอ และผมก็เชื่อว่า นักวิทยุสมัครเล่นหลายๆท่านคงจะเป็นอย่างผมด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะนักวิทยุสมัครเล่นที่เพิ่งได้ call sign เปิดเครื่องมาก็ต้องการติดต่อพูดคุย รอมาตั้งนานกว่าจะได้สัญญาณเรียกขาน ก็เข้าใจอารมณ์นะครับ ผมก็เคยเป็น

และพอผมได้คุยในช่องที่ผมขอCantactได้ วันหลังผมก็สแกนไปที่ช่องนั้นเลย เรียกหาเพื่อนที่เคยคุยกัน และถ้าทำเป็นประจำทุกวันๆ ทุกวันๆ อาจจะเพราะคุยกันถูกคอ หรือเพราะไม่มีช่องอื่นให้คุย หรือเพราะเหตุใดก็ตาม ทุกวันเข้า ทุกวันเข้า ก็เลยเป็นช่องประจำผมไปโดยปริยาย เพราะไม่มีใครไปรอเพื่อนที่ 145.000Mhz ไม่มีใครสแตนด์บายที่ 145.000Mhz ไม่มีใครContactที่ 145.000Mhz ความถี่ช่องเรียกขาน145.000Mhzจึงถูกลืม!! (ชิมิ!)

ขอบคุณข้อมูลดีดีจาก 
http://hs8jnf.blogspot.com/2010/04/145000-mhz.html
http://cbvrthai.com/?topic=1167.0;wap1
http://www.100watts.com/smf/index.php?topic=16920.0
http://www.hamsiam.com/smf/index.php?topic=179812.0

http://MoneyandTask.com/?refid=61365

วิทยุสื่อสาร ICOM ของแท้หรือของปลอม ดูยังไง?



ICOM เป็นอีกแบรนด์หนึ่ง ที่ได้รับความนิยมในวงการ วิทยุสื่อสาร  มีสินค้ามากมายหลายรุ่นในท้องตลาดทั้งไทยและต่างประเทศ  และแน่นอนครับยี่ห้อดังๆอย่างนี้ ของก็อปเพี๊ยบ!

สำหรับคนที่กำลังมองหาเครื่อง วิทยุสื่อสาร เครื่องใหม่จาก ICOM ก็อาจจะแอบกังวลกันเล็กๆ ว่า "เราจะได้ของแท้รึเปล่า น๊าา..??"

เอาละครับ เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร แต่ผมก็อยากให้ทุกท่านได้ทราบข้อมูลเอาไว้ เผื่อวันข้างหน้า เราอาจได้มีโอกาสเลือกซื้อสินค้าจาก  ICOM กับเขาบ้าง

 บริษัทยี.ซีมอนเรดิโอจำกัด เป็นบริษัทที่นำเข้าเครื่องวิทยุสื่อสารยี่ห้อ ICOM จากประเทศญี่ปุ่นแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทยครับ  และด้วยปัญหาสินค้าลอกเลียนแบบ หรือของปลอมเกลื่อนตลาดอย่างที่ได้บอกไปแล้ว  บริษัท จึงมี สติกเกอร์โฮโลแกรมที่มีตัวอักษร GSR   เพื่อใช้เป็น จุดสังเกต และเป็นเครื่องหมายยืนยันว่า สินค้าชิ้นนี้เป็นสินค้าที่มาจากการนำเข้าของ ยีซีมอนนะ และแน่นอนว่า.. เป็นของแท้นะจ๊ะ..^

และนอกจากนี้  เรายังได้เห็นการประชาสัมพันธ์จากร้านค้าตัวแทนจำหน่ายหลายๆร้าน ว่า เครื่อง ICOM ของแท้นั้น ต้องมีหมายเลข NTC  ลงท้ายด้วยเลข 0022 ก็เลยแทบจะเป็นสูตรสำเร็จของผู้ซื้ออย่างเราๆเลยล่ะครับว่า  ถ้าจะซื้อเครื่อง ICOM นั้น ต้องมองหา สติกเกอร์โฮโลแกรมที่มีตัวอักษร GSR และ ต้องเปิดฝาหลังมา และมองหาหมายเลขNTC  ที่ลงท้ายด้วย0022




แล้วทีนี้ก็เกิดคำถามว่า   อ้าว!!  แล้วถ้าเครื่องไม่มี สติเกอร์ล่ะ เครื่องฉันก็ปลอมล่ะซิ!! 

คืออย่างนี้ครับ ผมอยากให้มองว่าเครื่องวิทยุของแท้นั้นก็คือเครื่องที่ถูกส่งตรงเข้ามาจากโรงงานผู้ผลิต หรือบริษัทผู้ผลิต และผ่านกระบวนการต่างๆตามมตราฐานภายใต้เครื่องหมายการค้าที่ถูกต้องของบริษัทนั้นๆใช่มั้ยครับ  และการจะนำเข้ามาได้นั้นก็ต้องมีบริษัทนำเข้า ซึ่งในประเทศไทยเรา บริษัทที่นำเข้าวิทยุสื่อสารยี่ห้อ ICOM ก็คือ บริษัทยีซีมอนเรดิโอ นั่นเอง ก่อนที่จะนำเข้ามา ก็ต้องมีการขออนุญาตนำเข้าเครื่องวิทยุโทรคมนาคมกันซะก่อน เมื่อขอเสร็จก็จะมีหมายเลข NTC หรือ หมายเลขปท. กำกับไว้ที่สินค้ารุ่นนั้นๆ และในหมายเลขปท.นี้เองครับ ที่จะมีการระบุ รหัสของบริษัทผู้นำเข้าซึ่งในบทความนี้ ผมยกตัวอย่างบริษัทยีซีมอนเรดิโอ รหัสนำเข้าของบริษัทยีซีมอนเรดิโอก็คือ 0022 นั่นก็คือหมายเลขNTC 4ตัวท้ายนั่นเอง นอกจากหมายเลข NTC แล้ว บริษัทก็ได้ทำสติ๊กเกอร์แปะไว้ที่ตัวเครื่องเพื่อป้องกันการเข้าใจผิดระหว่างสินค้าแท้กับสินค้าเทียม เรียกว่า สติ๊กเกอร์โฮโลแกรมครับ


ส่วนคำถามที่ว่า “ถ้าที่เครื่องไม่มี สติเกอร์ล่ะ เครื่องฉันก็เป็นเครื่องปลอมใช่มั้ย” คงต้องขอตอบว่า ไม่ใช่ซะทีเดียวนะครับ(Icom ของhamเมืองนอกก็ไม่เห็นมีนะ) อย่างที่อธิบายไปแล้ว เครื่องที่มาจากบริษัทผู้ผลิต และผ่านการนำเข้าโดยบริษัทนำเข้าเท่านั้น จึงจะมีสติกเกอร์หรือสัญญลักษณ์พิเศษ เครื่องที่นำเข้าโดยผิดกฏหมาย หรือลักลอบนำเข้าโดยไม่เสียภาษีนั้น ก็จะไม่มีสติกเกอร์อย่างที่บอกไปนะครับ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นของปลอมนะ เพียงแต่คุณจะไม่สามารถไปขอหหมายเลขปท. หรือขึ้นทะเบียนกับ กสทช.ได้เท่านั้น ก็จะกลายเป็นเครื่องแท้แบบเถื่อนๆ  (หรือที่ผมเรียกว่า เครื่อง “เถื่อนแท้ๆ”  แต่มาตราฐานนั้นก็ส่งตรงจากโรงงานเลยล่ะครับ …อิอิ)

 ขอสรุปนะครับ ถ้าพูดถึงเครื่องแท้ …หากเราวัดจากคุณภาพโรงงานของเจ้าของลิขสิทธิ์นั้น ไม่จำเป็นต้องมี สติกเกอร์์โฮโลแกรมก็ได้ครับ แต่คุณก็จะนำเครื่องนั้นไปขึ้นทะเบียนเพื่อใช้ในประเทศไทยไม่ได้ด้วยเช่นกัน  และเครื่องนั้นก็จะกลายเป็นเครื่องเถื่อน  ทั้งที่เป็นเครื่องแท้จากโรงงาน แต่ก็ต้องเถื่อนเพราะนำเข้าโดยไม่ได้ขออนุญาตนั่นเอง

 ฉะนั้น หากเราต้องการ นำมาใช้งานในประเทศไทย ทางที่ดีและปลอดภัยที่สุด คือซื้อเครื่องจากตัวแทนจำหน่ายยี่ห้อนั้น แค่นี้ คุณก็จะได้ วิทยุของแท้ แบบแท้ๆแล้วล่ะครับ ถูกต้องทั้งมาตราฐานโรงงาน ถูกต้องทั้งกฏหมาย รับรอง ไม่ผิดหวัง…



**ขอบคุณข้อมูลและภาพบางส่วน จาก ยีซีมอนเรดิโอครับ**


http://MoneyandTask.com/?refid=61365


รีบอ่าน..ก่อนจะกลายเป็น QRM ซะเอง!!





เริ่มมาด้วยประโยคสั้นๆ หลายคนอาจไม่เข้าใจ …QRM คำๆนี้ นักวิทยุสมัครเล่น คงทราบกันดีอยู่แล้ว แต่..เอ๋!! จะกำจัด QRM ทำไมต้องเริ่มที่ตัวเราล่ะ?เดี๋ยวขออธิบายให้เพื่อนๆที่ยังไม่รู้จัก QRM กันก่อนนะครับ QRM เป็นรหัสคิว(Q CODE)ตัวหนึ่งที่อยูในประมวลรหัสคิว ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารของ นักวิทยุสมัครเล่น หมายถึงการรบกวนคลื่นความถี่ โดยการกระทำของคน นั่นเอง

ทีนี้ก็มาพูดถึงเจ้า QRM กันได้แล้ว

QRMคือการรบกวนความถี่ จากการกระทำของคน ซึ่งแบ่งออกได้เป็น การรบกวน โดยตั้งใจ และไม่ตั้งใจ แต่วันนี้เราจะมาพูดถึงการรบกวนแบบตั้งใจบี้คีย์แบบเต็มๆกันก่อน

QRM นี้เราเจอกันมานานครับ นักวิทยุฯจะทราบกันดี ตั้งแต่ผมเริ่มสนใจ วิทยุสื่อสาร ผมก็ได้ยินเรื่อง การรบกวนความถี่ จากฝีมือคน มาเป็นระยะๆ ลักษณะก็จะก่อกวนการใช้งานของเพื่อนๆบนความถี่ กดคีย์แทรกเข้ามาบ้าง ส่งเสียงแปลกปลอมบ้าง ใช้ถ้อยคำที่หยาบคายบ้าง โดยใช้เสียงเล็กๆ แหลมๆ จนเป็นที่มาของคำว่า “ไอ้แหลม”

แล้วจะกำจัด QRM ทำไมต้องเริ่มที่ตัวเราล่ะ..ก็ยังนึกไม่ออกอยู่ดี ??

คงจะเคยได้ยินคำว่า… “อย่าตอบโต้ เมื่อเจอ QRM” ผมเองก็ได้รับคำแนะนำมาอย่างนั้นมาตลอดการเป็นนักวิทยุของผมเช่นกันครับ

แล้วยังไงล่ะ ผมจะมาบอกให้เพื่อน “อย่าตอบโต้” แค่นั้นเองหรือ ??

คงต้องบอกว่า “ใช่”ครับ อย่าเพิ่งหาว่าผมเอาเรื่องเก่ามาเล่าใหม่เลยนะครับ เพราะผมอยากตั้งข้อสังเกตบางอย่างให้เพื่อนๆได้อ่านประกอบคำว่า “ใช่”ของผมไปด้วย

QRM มีมานาน ครับ เสียงก็ ดัดเล็กๆ เหมือนเดิม ผมเชื่อนะครับว่าไม่ได้มีคนเดียว (คงต้องรอให้รุ่นพี่ในวงการช่วยยืนยันครับ) เพราะผมเคยตั้งใจฟังเนื้อเสียง QRM หรือ “ไอ้แหลม” แบบจริงจัง อยู่หลายครั้ง ผมสังเกตได้ว่า เนื้อเสียง QRM เขาไม่เหมือนกันทุกครั้งนะครับ จะแตกต่างกันเล็กน้อย แต่ก็นั่นแหละ ผมอาจจะคิดผิดก็ได้…
แต่จากขอสันนิษฐานของผม ถ้า QRM ไม่ได้มีคนเดียว นั่นหมายความว่า มี QRM รายใหม่ๆ เกิดขึ้นมา และก็เป็นไปได้ว่า

QRM รายเก่าอาจเบื่อและเลิกก่อกวนความถี่ไปแล้วก็เป็นได้
เพราะตั้งแต่สมัยผมรู้จักวงการใหม่ๆ คำว่า “ไอ้แหลม” ก็มีมาให้ได้ยินแล้ว และก็ได้ยินมาถึงยุคนี้ ตอนนี้ วันเวลาผ่านไป
“ไอ้แหลม” ก็อาจเปลี่ยนคน

ถ้าขอสันนิษฐานของผมเป็นจริง แสดงว่ามีการเลียนแบบเกิดขึ้นครับ และคนเลียนแบบก็คิดว่า การก่อกวนลักษณะนี้ ได้ผลนะ มีคนรับรู้ถึงการกระทำนี้ นะ(เพราะมีคนโต้ตอบ QRM) มีคนเป็นเดือดเป็นร้อน (ตรงตามที่ QRM ตั้งใจไว้) การกระทำโต้ตอบของผู้ใช้ความถี่ในช่วงที่เกิดการรบกวนนี้ ถ้าให้ผมเปรียบ การกระทำเหล่านี้คงเหมือน ปุ๋ยกับน้ำ ที่ช่วยหล่อเลี้ยงให้ QRM เติบโตแบบ รุ่นต่อรุ่นแบบนี้นั่นเองครับ และทางกลับกัน หากมีเพื่อนทางไกลที่รับสัญญาณ QRM ไม่ได้ แต่รับสัญาณคุณได้ และการตอบโต้ของคุณกลายเป็นสัญญาณ QRM โดยปริยาย และคุณก็จะเป็น QRM ซะเอง !!

ลองนึกดูนะครับ ถ้าเราไม่พูดถึง QRM เลยสักนิดดดด…. เดียว ทั้งทางตรงและทางอ้อม ผมเชื่อนะครับว่าต้องมีการเสียความมั่นใจไปบ้าง คนที่เป็น QRM อยู่ คงต้องไปขยับสายไฟ เช็คสายสัญาณดูว่ามีอะไรผิดปกติรึเปล่า ส่งไม่ออกรึเปล่า ถ้าเราพร้อมใจ นิ่งเฉย ไม่โต้ตอบ ทั้งนี้ก็เพื่อไม่ให้ QRM เหิมเกริมหรือได้ใจครับ และก็จะลดหายไปจากความถี่ในที่สุด

ขอบคุณข้อมูลดีดี จาก แฮมมีดี  มีมาให้อ่านทุกวันเลยจ้า


http://MoneyandTask.com/?refid=61365


นักวิทยุสมัครเล่นคืออะไร ?



นักวิทยุสมัครเล่น หรือ ถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งคือ “แฮม” หรือ “แฮม เรดิโอ” คือคนที่ชื่นชอบและสนใจใน วิทยุสื่อสาร รวมไปถึงอุปกรณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ การสื่อสาร นอกจากตัวอุปกรณ์และการใช้งานแล้ว การเป็นนักวิทยุสมัครเล่น นั้นยังมีเสน่ห์ตรงที่ได้ค้นคว้าทดลองเกี่ยวกับ การติดต่อสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุในรูปแบบต่างๆอีกด้วย ซึ่งอาจศึกษาถึงตัวเครื่องรับ – ส่ง ระบบสายอากาศ  แหล่งพลังงาน  และรูปแบบการแพร่กระจายคลื่นวิทยุ รวมถึงทดลองรับ-ส่งสัญญาณวิทยุ ในรูปแบบ และพื้นที่ต่างๆกัน ทั้งนี้เป็นทั้งการศึกษา และการค้นคว้าทดลองไปในตัว เพื่อเพิ่มพูนความรู้ เพิ่มศักยภาพในการติดต่อสื่อสารให้กับสถานีของตนเองอยู่เสมอ

การเป็นนักวิทยุสมัครเล่น ต้องผ่านการทดสอบจากหน่วยงานที่กำกับกับดูแล กิจการวิทยุสมัครเล่น ซะก่อน  ซึ่งก็คือ กสทช. เมื่อสอบผ่านก็จะได้ใบประกาศนียบัตร และใบอนุญาติ พนักงานวิทยุสมัครเล่น เพื่อใช้เป็นสิ่งยืนยันการเป็น นักวิทยุสมัครเล่น ของเรา อย่าถูกต้องตามกฏหมายนั่นเอง

 กิจการวิทยุสมัครเล่น เป็นกิจการที่ไม่แสวงหากำไร เป็นกิจการที่มีขึ้นเพื่อให้ผู้สนใจได้ค้นคว้า ทดลองการใช้งานเกี่ยวกับคลื่นวิทยุ โดยเครื่องวิทยุสื่อสาร สายอากาศ และอื่นๆด้วยตนเองอย่างอิสระ(แต่ต้องอยู่ภายใต้กรอบของกฏหมาย) นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นเครือข่ายสำรองของชาติ ในกรณีการเกิดภัยพิบัติ หรือเหตุฉุกเฉินแห่งชาติได้อีกด้วย ดังที่มีระบุไว้ใน  วัตถุประสงค์กิจการวิทยุสมัครเล่น อย่างชัดเจน แถมกิจการวิทยุสมัครเล่นยังเป็นกิจการสากลคือ ไม่ใช่เฉพาะประเทศไทยเท่านั้นที่มีกิจการวิทยุสมัครเล่น แต่ยังมีเพื่อนนักวิทยุสมัครเล่นชาวต่างชาติอีกมากมายหลายสถานีที่มีความชื่นชอบแบบเดียวกันนี้

คำว่า วิทยุสมัครเล่น หลายคนพอได้ฟังแล้วคิดว่า เป็นการทำอะไรเล่นๆ เรื่อยๆ เปื่อยๆ หรือไม่จริงจังรึเปล่า? เนื่องจากมีคำว่า “สมัครเล่น” มาต่อท้าย บางคนนั้นยังกล่าวหาว่า นักวิทยุสมัครเล่น เป็นพวกที่ไม่มีความรู้จริง ใช้วิทยุสื่อสารคุยเล่นไปวันๆ แต่จริงๆแล้ว วิทยุสมัครเล่นเป็นกิจการที่มี นักวิทยุสมัครเล่น ซึ่งเป็นผู้ที่รักและสนในการติดต่อสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุ และมักค้นคว้าทดลองรับ-ส่ง คลื่นวิทยุ ด้วยตัวเอง ด้วยเงินทุนของตัวเอง โดยปราศจากรายได้หรือของรางวัลอื่นใดที่ได้มาจากการเป็นนักวิทยุสมัครเล่น แถมจริงๆแล้ว นักวิทยุสมัครเล่น ยังจัดว่าเป็น “ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านวิทยุสื่อสาร” เสียมากกว่า

http://MoneyandTask.com/?refid=61365