วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

SWR จริงและ SWR เสมือน



โดยปกติแล้วเวลาเราวัดค่า SWR ( standing wave ratio) เราจะวัดบริเวณใกล้ ๆ กับวิทยุรับส่ง ค่า SWR ที่ได้ไม่ใช่ค่า SWR ที่แท้จริง ถ้าเราต้องการวัดเพื่อหาค่าที่ถูกต้องเราจำเป็นต้องวัดที่ จุดต่อของสายอากาศ ส่วนค่า SWR ที่เราวัดได้ภายในสถานีเรามักจะเรียกว่าค่า SWR เสมือน ซึ่งค่านี้จะมีค่าน้อยกว่าค่า SWR ที่แท้จริงเสมอ ที่น้อยลงก็เกิดจากคลื่นสะท้อนจะถูกลดทอนในสายนำสัญญาณขณะที่เดินทางกลับมายังเครื่องส่งวิทยุ จึงทำให้ดูเหมือนว่าค่า SWR ดูดีขึ้น ยิ่งถ้าสายนำสัญญาณยิ่งยาวขึ้น ตัวเลขนี้ก็จะยิ่งดูดีขึ้น ค่า SWR เสมือนจะน้อยกว่าค่า SWR ที่แท้จริงเท่าไรนั้นขึ้นอยู่กับค่าการสูญเสียในสภาวะที่ Match ของสายนำสัญญาณที่ใช้





ตาราง สำหรับหาค่า SWR จริงเมื่อรู้ค่า SWR เสมือน (X หมายถึง SWR มีค่ามากกว่า 10)
ถ้าเราต้องการวัด SWR ที่แท้จริงของสายอากาศเราจะเป็นต้องปีนเสาขั้นไปวัดที่จุดต่อสายอากาศ แต่ก็คงไม่สะดวก แต่ถ้าเราจะวัด SWR ตอนที่สายอากาศอยู่บนพื้นดินค่า SWR ที่ได้จะไม่เหมือนกับที่ถูกติดตั้งอยุ่บนเสา เนื่องจาก
สถาพแวดล้อมต่างกัน ทางออกอีกวิธีก็คือใช้ตารางในการคำนวณหาค่า SWR ยกตัวอย่างเช่น วัดค่า SWR ที่ในสถานีได้ค่า 1.4:1 สายนำสัญญาณมีอัตราการสูญเสีย 3db ก็จะได้ค่า SWR ที่แท้จริงเป็น 2.0:1 เป็นต้น


จากตาราง พอจะสรุปได้ว่า ถ้าสายนำสัญญาณมีอัตราการสูญเสียมาก ค่า SWR จริง และค่า SWR เสมือนจะแตกต่างกันมาก



ขอบคุณข้อมูลดีดีจาก HS8JYX

http://MoneyandTask.com/?refid=61365


ทดสอบสัญญาณ ผ่านรีพีตเตอร์เพื่ออะไรกัน??


หลายครั้งที่ได้ยินเพื่อนๆแฮมพูด >:((บ่น)ถึงการทดสอบสัญญาณผ่านระบบรีพีตเตอร์ ว่าจะทดสอบไปเพื่ออะไรกัน(วะ) ทั้งๆที่ ตัวรีพีตเตอร์ ก็ใช้งานได้ และ เป็นการติดต่อแบบ Duplex ซึ่งมีการทวนสัญญาณ ให้สัญญาณติดต่อได้ในระยะที่ไกลขึ้นอยู่แล้่ว เฮ้อ…!! น่าจะเอาเวลามาทำอย่างอื่นนะ

หลังจากที่เราได้พูดถึง การเช็คเน็ท หรือการทดสอบสัญญาณบนความถี่วิทยุสมัครเล่นไปแล้ว ก็นึกถึงระบบรีพีทเตอร์ขึ้นมาว่า แล้วถ้าเป็นช่องความถี่ที่ใช้ระบบรับ - ส่งต่างความถี่(Duplex)ล่ะ การทดสอบสัญญาณจะเป็นอย่างไร…



อย่าลืมนะครับว่า การทดสอบสัญญาณวิทยุ ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อทดสอบความชัดเจนหรือระยะทางการติดต่อเท่านั้น ..แต่ยังมีจุดประสงค์อีกหลายๆอย่าง ที่พอจะมีประโยชน์ อยู่บ้างทั้งทางตรงและทางอ้อม

ลองมาดูกัน ว่า “เราทดสอบสัญญาณวิทยุกันไปเพื่ออะไร” กันบ้างนะ


เอาหลักๆเลย มาว่ากันเป็นข้อๆเลยนะ

1.เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับ โอเปเรเตอร์ และอุปกรณ์ ให้พร้อมต่อการ ติดต่อสื่อสารอยู่เสมอ(คนพร้อม เครื่องพร้อม)

2.เพื่อปรับแต่งอุปกรณ์และเครื่องรับ-ส่งวิทยุ ให้ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพสูงสุด

3. เพื่อรับฟังข่าวสารจากศูนย์ควบคุมข่าย ก่อนเริ่มทดสอบสัญญาณ(กรณีทดสอบสัญญาณกับสถานีควบคุมข่าย)

เหตุผล3ข้อนี้ ก็น่าจะเพียงพอต่อการสนับสนุนแนวคิดที่ว่า เราทดสอบสัญญาณบนความถี่รีพีทเตอร์เพื่ออะไร… ถ้าไม่ใช่เพื่อทดสอบทุกอย่าง ที่เป็นปัจจัยในการสื่อสาร ทั้งคน ทั้งเครื่อง ทั้งอุปกรณ์เสริมต่างๆ วันนี้เครื่องทำงานได้ดี พรุ่งนี้อาจจะมีเสียงแบล็กกราวด์เพิ่มเข้ามาก็ได้ หุหุ ;) ;) ;)

http://MoneyandTask.com/?refid=61365

145.0000MHz ช่องเรียกขานที่ถูกลืม!


นึกถึงสมัยตอนสอบ มีข้อสอบข้อหนึ่งที่ถามถึงช่องความถี่ 145.000Mhz ว่าคือช่องอะไร ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ยุคกี่สมัย เชื่อว่านักวิทยุสมัครเล่นทุกท่านคงรู้จักช่อง 145.000Mhz นี้เป็นอย่างดี แต่มีเพียงสักกี่ท่านที่ใช้ช่อง 145.000Mhz นี้ได้ดีและมีประสิทธิภาพ ??

ช่องเรียกขาน 145.000Mhz ดูเหมือนจะเป็นช่องเซ็นเตอร์ ช่องศูนย์กลาง เพราะอยู่กึ่งกลางช่วงความถี่ที่นักวิทยุสมัครเล่นสามารถใช้ได้ ดูไปดูมาก็เป็นเหมือนช่องหลัก หรือช่องที่จะต้องมีบทบาทสำคัญอะไรสักอย่าง เพราะอยู่ตรงกลางสุด เลขสวย จำง่าย(เกี่ยวกันมั้ย!!)
ย้อนไปในสมัยอดีตที่ก่อนจะเกิดกิจการวิทยุสมัครเล่นขึ้นมานั้น ช่องความถี่ที่สามารถใช้งานได้มีอยู่ 3ช่องเท่่านั้นครับ คือ 144.500MHz 144.600MHz 144.700MHz ต่อมาจึงได้มีการขยายความถี่เพิ่มอีก 1ช่อง คือ 145.00MHz เป็นช่องสำหรับแจ้งเหตุโดยศูนย์สายลมทำหน้าที่เป็นเน็ทคอนโทรล จนกระทั่งมีกิจการวิทยุสมัครเล่นเกิดขึ้นในปี 2530 ช่องความถี่จึงได้หลากหลายมากมายขนาดนี้ และช่องความถี่ 145.000Mhz ได้ถูกกำหนดเป็นช่องเรียกขานและแจ้งเหตุอย่างเป็นทางการ

ช่องเรียกขาน(Call Channel) คืออะไร???

หลักปฏิบัติของนักวิทยุสมัครเล่นถ้าว่ากันตามหลักแล้ว ช่อง 145.000Mhz จะเป็นช่องที่ไว้ใช้สำหรับ สแตนด์บายและเรียกขานยังไงน่ะหรอ??  ก็หากว่าคุณไม่ได้มีการติดต่อสนทนากับใครอยู่ ช่องนี้ก็เหมาะอย่างยิ่งที่คุณจะมาสแตนด์บาย

ประหนึ่งเหมือนเป็นช่องนัดพบ แบบไม่ได้นัดแนะ ของเหล่านักวิทยุสมัครเล่น

และเมื่อคุณต้องการจะเรียกใครหรือรอใครเรียก ก็ช่องนี้เหมือนกันครับ จะเรียก CQ(เรียกแบบไม่เจาะจงใครคนใดคนหนึ่ง เรียกลอยๆใครรับสัญญาณได้ก็สามารถตอบกลับได้) ไม่ว่าจะเรียก CQ หรือเรียกโดยระบุสัญญาณเรียกขาน(Call Sign) ก็สามารถทำได้ทั้งนั้นในช่องนี้ และหลังจากเรียกขานกันแล้ว ติดต่อได้แล้ว ก็จะต้องทำการย้ายช่องไปยังช่องที่เราเตรียมไว้หรือQSY เพื่อปล่อยให้ 145.000Mhz นั้นว่างสำหรับคนอื่นสแตนด์บาย และเรียกขานกันต่อไป

แต่ตอนนี้น่ะหรอ สิ่งที่ผมเห็นและได้ยินก็คือ ความว่างเปล่าของช่องความถี่ ทุกวันนี้ได้ยินแต่เสียงคนกดคีย์ อาจจะกำลังทดสอบเครื่อง หรือทดสอบสายกาศ วัดระดับ SWR หรืออะไรก็แล้วแต่ แต่ไม่ได้ยินเสียงใครเรียกหาใครเลย!!??
เพราะอะไรล่ะ ความถี่ถึงเงียบ??

พูดยากครับ นานจิตตัง สำหรับผมมุมมองแว๊บแรกสำหรับช่องเรียกขานนี้คือ เขามีไว้ให้เรียกขานนะ ไม่ได้มีเอาไว้คุย(จริงๆก็ถูก) และผมตั้งใจจะเปิดเครื่องมาคุยนี่นา ผมก็ไม่เลยไม่มาใช้ช่องเรียกขาน 145.000Mhz นี้เลย ??!!

แล้วผมไปไหน? ก็ไปรอContact ขอติดต่อพูดคุยกับเพื่อนตามช่องต่างๆที่ผมสแกนเจอ และผมก็เชื่อว่า นักวิทยุสมัครเล่นหลายๆท่านคงจะเป็นอย่างผมด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะนักวิทยุสมัครเล่นที่เพิ่งได้ call sign เปิดเครื่องมาก็ต้องการติดต่อพูดคุย รอมาตั้งนานกว่าจะได้สัญญาณเรียกขาน ก็เข้าใจอารมณ์นะครับ ผมก็เคยเป็น

และพอผมได้คุยในช่องที่ผมขอCantactได้ วันหลังผมก็สแกนไปที่ช่องนั้นเลย เรียกหาเพื่อนที่เคยคุยกัน และถ้าทำเป็นประจำทุกวันๆ ทุกวันๆ อาจจะเพราะคุยกันถูกคอ หรือเพราะไม่มีช่องอื่นให้คุย หรือเพราะเหตุใดก็ตาม ทุกวันเข้า ทุกวันเข้า ก็เลยเป็นช่องประจำผมไปโดยปริยาย เพราะไม่มีใครไปรอเพื่อนที่ 145.000Mhz ไม่มีใครสแตนด์บายที่ 145.000Mhz ไม่มีใครContactที่ 145.000Mhz ความถี่ช่องเรียกขาน145.000Mhzจึงถูกลืม!! (ชิมิ!)

ขอบคุณข้อมูลดีดีจาก 
http://hs8jnf.blogspot.com/2010/04/145000-mhz.html
http://cbvrthai.com/?topic=1167.0;wap1
http://www.100watts.com/smf/index.php?topic=16920.0
http://www.hamsiam.com/smf/index.php?topic=179812.0

http://MoneyandTask.com/?refid=61365

วิทยุสื่อสาร ICOM ของแท้หรือของปลอม ดูยังไง?



ICOM เป็นอีกแบรนด์หนึ่ง ที่ได้รับความนิยมในวงการ วิทยุสื่อสาร  มีสินค้ามากมายหลายรุ่นในท้องตลาดทั้งไทยและต่างประเทศ  และแน่นอนครับยี่ห้อดังๆอย่างนี้ ของก็อปเพี๊ยบ!

สำหรับคนที่กำลังมองหาเครื่อง วิทยุสื่อสาร เครื่องใหม่จาก ICOM ก็อาจจะแอบกังวลกันเล็กๆ ว่า "เราจะได้ของแท้รึเปล่า น๊าา..??"

เอาละครับ เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร แต่ผมก็อยากให้ทุกท่านได้ทราบข้อมูลเอาไว้ เผื่อวันข้างหน้า เราอาจได้มีโอกาสเลือกซื้อสินค้าจาก  ICOM กับเขาบ้าง

 บริษัทยี.ซีมอนเรดิโอจำกัด เป็นบริษัทที่นำเข้าเครื่องวิทยุสื่อสารยี่ห้อ ICOM จากประเทศญี่ปุ่นแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทยครับ  และด้วยปัญหาสินค้าลอกเลียนแบบ หรือของปลอมเกลื่อนตลาดอย่างที่ได้บอกไปแล้ว  บริษัท จึงมี สติกเกอร์โฮโลแกรมที่มีตัวอักษร GSR   เพื่อใช้เป็น จุดสังเกต และเป็นเครื่องหมายยืนยันว่า สินค้าชิ้นนี้เป็นสินค้าที่มาจากการนำเข้าของ ยีซีมอนนะ และแน่นอนว่า.. เป็นของแท้นะจ๊ะ..^

และนอกจากนี้  เรายังได้เห็นการประชาสัมพันธ์จากร้านค้าตัวแทนจำหน่ายหลายๆร้าน ว่า เครื่อง ICOM ของแท้นั้น ต้องมีหมายเลข NTC  ลงท้ายด้วยเลข 0022 ก็เลยแทบจะเป็นสูตรสำเร็จของผู้ซื้ออย่างเราๆเลยล่ะครับว่า  ถ้าจะซื้อเครื่อง ICOM นั้น ต้องมองหา สติกเกอร์โฮโลแกรมที่มีตัวอักษร GSR และ ต้องเปิดฝาหลังมา และมองหาหมายเลขNTC  ที่ลงท้ายด้วย0022




แล้วทีนี้ก็เกิดคำถามว่า   อ้าว!!  แล้วถ้าเครื่องไม่มี สติเกอร์ล่ะ เครื่องฉันก็ปลอมล่ะซิ!! 

คืออย่างนี้ครับ ผมอยากให้มองว่าเครื่องวิทยุของแท้นั้นก็คือเครื่องที่ถูกส่งตรงเข้ามาจากโรงงานผู้ผลิต หรือบริษัทผู้ผลิต และผ่านกระบวนการต่างๆตามมตราฐานภายใต้เครื่องหมายการค้าที่ถูกต้องของบริษัทนั้นๆใช่มั้ยครับ  และการจะนำเข้ามาได้นั้นก็ต้องมีบริษัทนำเข้า ซึ่งในประเทศไทยเรา บริษัทที่นำเข้าวิทยุสื่อสารยี่ห้อ ICOM ก็คือ บริษัทยีซีมอนเรดิโอ นั่นเอง ก่อนที่จะนำเข้ามา ก็ต้องมีการขออนุญาตนำเข้าเครื่องวิทยุโทรคมนาคมกันซะก่อน เมื่อขอเสร็จก็จะมีหมายเลข NTC หรือ หมายเลขปท. กำกับไว้ที่สินค้ารุ่นนั้นๆ และในหมายเลขปท.นี้เองครับ ที่จะมีการระบุ รหัสของบริษัทผู้นำเข้าซึ่งในบทความนี้ ผมยกตัวอย่างบริษัทยีซีมอนเรดิโอ รหัสนำเข้าของบริษัทยีซีมอนเรดิโอก็คือ 0022 นั่นก็คือหมายเลขNTC 4ตัวท้ายนั่นเอง นอกจากหมายเลข NTC แล้ว บริษัทก็ได้ทำสติ๊กเกอร์แปะไว้ที่ตัวเครื่องเพื่อป้องกันการเข้าใจผิดระหว่างสินค้าแท้กับสินค้าเทียม เรียกว่า สติ๊กเกอร์โฮโลแกรมครับ


ส่วนคำถามที่ว่า “ถ้าที่เครื่องไม่มี สติเกอร์ล่ะ เครื่องฉันก็เป็นเครื่องปลอมใช่มั้ย” คงต้องขอตอบว่า ไม่ใช่ซะทีเดียวนะครับ(Icom ของhamเมืองนอกก็ไม่เห็นมีนะ) อย่างที่อธิบายไปแล้ว เครื่องที่มาจากบริษัทผู้ผลิต และผ่านการนำเข้าโดยบริษัทนำเข้าเท่านั้น จึงจะมีสติกเกอร์หรือสัญญลักษณ์พิเศษ เครื่องที่นำเข้าโดยผิดกฏหมาย หรือลักลอบนำเข้าโดยไม่เสียภาษีนั้น ก็จะไม่มีสติกเกอร์อย่างที่บอกไปนะครับ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นของปลอมนะ เพียงแต่คุณจะไม่สามารถไปขอหหมายเลขปท. หรือขึ้นทะเบียนกับ กสทช.ได้เท่านั้น ก็จะกลายเป็นเครื่องแท้แบบเถื่อนๆ  (หรือที่ผมเรียกว่า เครื่อง “เถื่อนแท้ๆ”  แต่มาตราฐานนั้นก็ส่งตรงจากโรงงานเลยล่ะครับ …อิอิ)

 ขอสรุปนะครับ ถ้าพูดถึงเครื่องแท้ …หากเราวัดจากคุณภาพโรงงานของเจ้าของลิขสิทธิ์นั้น ไม่จำเป็นต้องมี สติกเกอร์์โฮโลแกรมก็ได้ครับ แต่คุณก็จะนำเครื่องนั้นไปขึ้นทะเบียนเพื่อใช้ในประเทศไทยไม่ได้ด้วยเช่นกัน  และเครื่องนั้นก็จะกลายเป็นเครื่องเถื่อน  ทั้งที่เป็นเครื่องแท้จากโรงงาน แต่ก็ต้องเถื่อนเพราะนำเข้าโดยไม่ได้ขออนุญาตนั่นเอง

 ฉะนั้น หากเราต้องการ นำมาใช้งานในประเทศไทย ทางที่ดีและปลอดภัยที่สุด คือซื้อเครื่องจากตัวแทนจำหน่ายยี่ห้อนั้น แค่นี้ คุณก็จะได้ วิทยุของแท้ แบบแท้ๆแล้วล่ะครับ ถูกต้องทั้งมาตราฐานโรงงาน ถูกต้องทั้งกฏหมาย รับรอง ไม่ผิดหวัง…



**ขอบคุณข้อมูลและภาพบางส่วน จาก ยีซีมอนเรดิโอครับ**


http://MoneyandTask.com/?refid=61365


รีบอ่าน..ก่อนจะกลายเป็น QRM ซะเอง!!





เริ่มมาด้วยประโยคสั้นๆ หลายคนอาจไม่เข้าใจ …QRM คำๆนี้ นักวิทยุสมัครเล่น คงทราบกันดีอยู่แล้ว แต่..เอ๋!! จะกำจัด QRM ทำไมต้องเริ่มที่ตัวเราล่ะ?เดี๋ยวขออธิบายให้เพื่อนๆที่ยังไม่รู้จัก QRM กันก่อนนะครับ QRM เป็นรหัสคิว(Q CODE)ตัวหนึ่งที่อยูในประมวลรหัสคิว ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารของ นักวิทยุสมัครเล่น หมายถึงการรบกวนคลื่นความถี่ โดยการกระทำของคน นั่นเอง

ทีนี้ก็มาพูดถึงเจ้า QRM กันได้แล้ว

QRMคือการรบกวนความถี่ จากการกระทำของคน ซึ่งแบ่งออกได้เป็น การรบกวน โดยตั้งใจ และไม่ตั้งใจ แต่วันนี้เราจะมาพูดถึงการรบกวนแบบตั้งใจบี้คีย์แบบเต็มๆกันก่อน

QRM นี้เราเจอกันมานานครับ นักวิทยุฯจะทราบกันดี ตั้งแต่ผมเริ่มสนใจ วิทยุสื่อสาร ผมก็ได้ยินเรื่อง การรบกวนความถี่ จากฝีมือคน มาเป็นระยะๆ ลักษณะก็จะก่อกวนการใช้งานของเพื่อนๆบนความถี่ กดคีย์แทรกเข้ามาบ้าง ส่งเสียงแปลกปลอมบ้าง ใช้ถ้อยคำที่หยาบคายบ้าง โดยใช้เสียงเล็กๆ แหลมๆ จนเป็นที่มาของคำว่า “ไอ้แหลม”

แล้วจะกำจัด QRM ทำไมต้องเริ่มที่ตัวเราล่ะ..ก็ยังนึกไม่ออกอยู่ดี ??

คงจะเคยได้ยินคำว่า… “อย่าตอบโต้ เมื่อเจอ QRM” ผมเองก็ได้รับคำแนะนำมาอย่างนั้นมาตลอดการเป็นนักวิทยุของผมเช่นกันครับ

แล้วยังไงล่ะ ผมจะมาบอกให้เพื่อน “อย่าตอบโต้” แค่นั้นเองหรือ ??

คงต้องบอกว่า “ใช่”ครับ อย่าเพิ่งหาว่าผมเอาเรื่องเก่ามาเล่าใหม่เลยนะครับ เพราะผมอยากตั้งข้อสังเกตบางอย่างให้เพื่อนๆได้อ่านประกอบคำว่า “ใช่”ของผมไปด้วย

QRM มีมานาน ครับ เสียงก็ ดัดเล็กๆ เหมือนเดิม ผมเชื่อนะครับว่าไม่ได้มีคนเดียว (คงต้องรอให้รุ่นพี่ในวงการช่วยยืนยันครับ) เพราะผมเคยตั้งใจฟังเนื้อเสียง QRM หรือ “ไอ้แหลม” แบบจริงจัง อยู่หลายครั้ง ผมสังเกตได้ว่า เนื้อเสียง QRM เขาไม่เหมือนกันทุกครั้งนะครับ จะแตกต่างกันเล็กน้อย แต่ก็นั่นแหละ ผมอาจจะคิดผิดก็ได้…
แต่จากขอสันนิษฐานของผม ถ้า QRM ไม่ได้มีคนเดียว นั่นหมายความว่า มี QRM รายใหม่ๆ เกิดขึ้นมา และก็เป็นไปได้ว่า

QRM รายเก่าอาจเบื่อและเลิกก่อกวนความถี่ไปแล้วก็เป็นได้
เพราะตั้งแต่สมัยผมรู้จักวงการใหม่ๆ คำว่า “ไอ้แหลม” ก็มีมาให้ได้ยินแล้ว และก็ได้ยินมาถึงยุคนี้ ตอนนี้ วันเวลาผ่านไป
“ไอ้แหลม” ก็อาจเปลี่ยนคน

ถ้าขอสันนิษฐานของผมเป็นจริง แสดงว่ามีการเลียนแบบเกิดขึ้นครับ และคนเลียนแบบก็คิดว่า การก่อกวนลักษณะนี้ ได้ผลนะ มีคนรับรู้ถึงการกระทำนี้ นะ(เพราะมีคนโต้ตอบ QRM) มีคนเป็นเดือดเป็นร้อน (ตรงตามที่ QRM ตั้งใจไว้) การกระทำโต้ตอบของผู้ใช้ความถี่ในช่วงที่เกิดการรบกวนนี้ ถ้าให้ผมเปรียบ การกระทำเหล่านี้คงเหมือน ปุ๋ยกับน้ำ ที่ช่วยหล่อเลี้ยงให้ QRM เติบโตแบบ รุ่นต่อรุ่นแบบนี้นั่นเองครับ และทางกลับกัน หากมีเพื่อนทางไกลที่รับสัญญาณ QRM ไม่ได้ แต่รับสัญาณคุณได้ และการตอบโต้ของคุณกลายเป็นสัญญาณ QRM โดยปริยาย และคุณก็จะเป็น QRM ซะเอง !!

ลองนึกดูนะครับ ถ้าเราไม่พูดถึง QRM เลยสักนิดดดด…. เดียว ทั้งทางตรงและทางอ้อม ผมเชื่อนะครับว่าต้องมีการเสียความมั่นใจไปบ้าง คนที่เป็น QRM อยู่ คงต้องไปขยับสายไฟ เช็คสายสัญาณดูว่ามีอะไรผิดปกติรึเปล่า ส่งไม่ออกรึเปล่า ถ้าเราพร้อมใจ นิ่งเฉย ไม่โต้ตอบ ทั้งนี้ก็เพื่อไม่ให้ QRM เหิมเกริมหรือได้ใจครับ และก็จะลดหายไปจากความถี่ในที่สุด

ขอบคุณข้อมูลดีดี จาก แฮมมีดี  มีมาให้อ่านทุกวันเลยจ้า


http://MoneyandTask.com/?refid=61365


นักวิทยุสมัครเล่นคืออะไร ?



นักวิทยุสมัครเล่น หรือ ถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งคือ “แฮม” หรือ “แฮม เรดิโอ” คือคนที่ชื่นชอบและสนใจใน วิทยุสื่อสาร รวมไปถึงอุปกรณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ การสื่อสาร นอกจากตัวอุปกรณ์และการใช้งานแล้ว การเป็นนักวิทยุสมัครเล่น นั้นยังมีเสน่ห์ตรงที่ได้ค้นคว้าทดลองเกี่ยวกับ การติดต่อสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุในรูปแบบต่างๆอีกด้วย ซึ่งอาจศึกษาถึงตัวเครื่องรับ – ส่ง ระบบสายอากาศ  แหล่งพลังงาน  และรูปแบบการแพร่กระจายคลื่นวิทยุ รวมถึงทดลองรับ-ส่งสัญญาณวิทยุ ในรูปแบบ และพื้นที่ต่างๆกัน ทั้งนี้เป็นทั้งการศึกษา และการค้นคว้าทดลองไปในตัว เพื่อเพิ่มพูนความรู้ เพิ่มศักยภาพในการติดต่อสื่อสารให้กับสถานีของตนเองอยู่เสมอ

การเป็นนักวิทยุสมัครเล่น ต้องผ่านการทดสอบจากหน่วยงานที่กำกับกับดูแล กิจการวิทยุสมัครเล่น ซะก่อน  ซึ่งก็คือ กสทช. เมื่อสอบผ่านก็จะได้ใบประกาศนียบัตร และใบอนุญาติ พนักงานวิทยุสมัครเล่น เพื่อใช้เป็นสิ่งยืนยันการเป็น นักวิทยุสมัครเล่น ของเรา อย่าถูกต้องตามกฏหมายนั่นเอง

 กิจการวิทยุสมัครเล่น เป็นกิจการที่ไม่แสวงหากำไร เป็นกิจการที่มีขึ้นเพื่อให้ผู้สนใจได้ค้นคว้า ทดลองการใช้งานเกี่ยวกับคลื่นวิทยุ โดยเครื่องวิทยุสื่อสาร สายอากาศ และอื่นๆด้วยตนเองอย่างอิสระ(แต่ต้องอยู่ภายใต้กรอบของกฏหมาย) นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นเครือข่ายสำรองของชาติ ในกรณีการเกิดภัยพิบัติ หรือเหตุฉุกเฉินแห่งชาติได้อีกด้วย ดังที่มีระบุไว้ใน  วัตถุประสงค์กิจการวิทยุสมัครเล่น อย่างชัดเจน แถมกิจการวิทยุสมัครเล่นยังเป็นกิจการสากลคือ ไม่ใช่เฉพาะประเทศไทยเท่านั้นที่มีกิจการวิทยุสมัครเล่น แต่ยังมีเพื่อนนักวิทยุสมัครเล่นชาวต่างชาติอีกมากมายหลายสถานีที่มีความชื่นชอบแบบเดียวกันนี้

คำว่า วิทยุสมัครเล่น หลายคนพอได้ฟังแล้วคิดว่า เป็นการทำอะไรเล่นๆ เรื่อยๆ เปื่อยๆ หรือไม่จริงจังรึเปล่า? เนื่องจากมีคำว่า “สมัครเล่น” มาต่อท้าย บางคนนั้นยังกล่าวหาว่า นักวิทยุสมัครเล่น เป็นพวกที่ไม่มีความรู้จริง ใช้วิทยุสื่อสารคุยเล่นไปวันๆ แต่จริงๆแล้ว วิทยุสมัครเล่นเป็นกิจการที่มี นักวิทยุสมัครเล่น ซึ่งเป็นผู้ที่รักและสนในการติดต่อสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุ และมักค้นคว้าทดลองรับ-ส่ง คลื่นวิทยุ ด้วยตัวเอง ด้วยเงินทุนของตัวเอง โดยปราศจากรายได้หรือของรางวัลอื่นใดที่ได้มาจากการเป็นนักวิทยุสมัครเล่น แถมจริงๆแล้ว นักวิทยุสมัครเล่น ยังจัดว่าเป็น “ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านวิทยุสื่อสาร” เสียมากกว่า

http://MoneyandTask.com/?refid=61365

ทำไม? นักวิทยุสมัครเล่น จึงถูกเรียกว่า “แฮม”




เป็น เรื่องที่สงสัยมานานถึงที่มาของคำว่า ham (แฮม) ว่าทำไมจึงแผลงจากความหมายเดิมในภาษาอังกฤษที่หมายถึง ขาหมูเค็ม และนักแสดงสมัครเล่นมากลายเป็น นักวิทยุสมัครเล่น ไปได้อย่างไร แม้แต่หนังสือหลายต่อหลายเล่มสำหรับผู้เริ่มต้นของสมาคมวิทยุสมัครเล่นวิทยุ สมัครเล่นในต่างประเทศก็ไม่รู้เหมือนกัน ความสงสัยจึงยังคงเป็นความสงสัยในหมู่นักวิทยุสมัครเล่นชาวไทยไปด้วย นายเฟรดเดอริค โอ มาไออา เจ้าของรหัสเรียกขานว่า W5YI ได้รวบรวมข้อสันนิษฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับคำว่า ham ลงในวารสาร CQ ของอเมริกา ฉบับประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2529 เขาเล่าว่ามีข้อสันนิษฐานที่ร่ำลือกันมากอยู่หลายอย่าง อย่างแรกคาดว่า H-A-M นั้นเป็นตัวอักษรที่มาจากอักษรตัวแรกของนามสกุลของนักวิทยุสมัครเล่นในย่าน เมืองบอสตัน 3 คน เมื่อปี พ.ศ.2453


แต่ไม่มีรายละเอียดเพิ่มเติมว่าทำไมจึงครึ้มอกครึ้มใจเอาตัวอักษรของ 3 คน นั้นมาผสมเป็นคำว่า HAM ข้อสันนิษฐานอย่างที่สองคาดเดาว่า HAM เป็นคำที่นักวิทยุสมัครเล่นยุคต้น ๆ รายหนึ่งนำมาใช้เป็นรหัสเรียกขานของตน ก่อนที่จะมีการกำหนดรหัสเรียกขานเป็นมาตรฐานเดียวกันตามพระราชบัญญัติวิทยุ (ของอเมริกา) ในปี พ.ศ. 2470 ต่อมาเมื่อเปลี่ยนรหัสเรียกขานกันตามกฎหมายแล้ว จึงขยายความหมายถึง นักวิทยุสมัครเล่นคนอื่น ๆ ไปด้วย ข้อสันนิษฐานอย่างที่สามเล่าว่า นักวิทยุสมัครเล่นชาวอังกฤษสมัยก่อนเรียกตัวเองสั้น ๆ ว่า am’s (อ่านว่า แอมส) ซึ่งย่อมาจากคำว่า amateurs (นักวิทยุสมัครเล่น) พอชาวอเมริกันมาออกเสียงก็เลยเพี้ยนกลายเป็น แฮม ซึ่งสะกดคำอ่านออกมาเป็น ham ก็เลยยึดเป็นศัพท์แสลง และใช้นับตั้งแต่นั้นมา แต่ข้อสันนิษฐานที่เขาคิดว่าน่าเชื่อถือที่สุด มาจากการคาดเดาที่ว่า ในยุคสมัยก่อนพวกนักแสดงสิ่งละอันพันละน้อย พวกนักร้องนักดนตรี และพวกให้ความบันเทิงกึ่งอาชีพนั้นถูกเรียกเป็นคำแสลง (คำตลาด)ว่า ham มาก่อนในยุคระหว่าง พ.ศ. 2460-2470 นั้น การทดลองส่งกระจายเสียงยังไม่ถือว่าเป็นสิ่งผิดกฎหมาย จึงมีกลุ่มมือสมัครเล่นกลุ่มหนึ่งที่ชอบส่งเสียงดนตรีออกอากาศไปให้คนอื่น ฟังกัน เป็นที่เชื่อถือได้มากกว่าคนกลุ่มนี้ (ซึ่งในสมัยก่อนถูกเรียกว่า ham ด้วย) นี่แหละที่เป็นจุดเริ่มต้นของกลุ่มที่ชอบทดลองทางวิทยุ ซึ่งต่อมากลายเป็นนักวิทยุสมัครเล่น คำว่า ham จึงถูกเรียกติดตามมาถึงนักวิทยุสมัครเล่นด้วย อย่างไรก็ตาม ทั้งหลายนี้เป็นเพียงข้อสันนิษฐาน ซึ่งยังไม่มีใครยืนยันได้ว่าข้อสันนิษฐานใดถูกต้องกันแน่ แต่ที่แน่ ๆ ก็คือ ปัจจุบันคำว่า ham นั้นเป็นคำแสลงหมายถึง นักวิทยุสมัครเล่น ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปและถูกบรรจุลงในพจนานุกรมแล้ว ส่วนคำว่าradio amateur นั้นเป็นคำปกติที่หมายถึง นักวิทยุสมัครเล่น และคำว่าamateur radio หมายถึง(กิจการ) วิทยุสมัครเล่น



เพิ่มเติม
ทำไมนักวิทยุสมัครเล่นจึงถูกเรียกว่า ham?

ใน หัวข้อก่อนได้ลงข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับที่มาของคำว่า ham ไปแล้ว แต่ก็ได้ข้อมูลมาเพิ่มเติมอีกจากคำบอกเล่าของ นายบิล บลูเมนเฟลด์ นักวิทยุสมัครเล่นชาวอเมริกัน เจ้าของสัญญาณเรียกขานว่า W1TFT ซึ่งเขียนจดหมายมาบอกเล่าในวารสาร QST ฉบับประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2530
นาย บิลเล่าว่าเขาพยายามสืบเสาะมาร่วม 50 ปีแล้วว่า มำไมนักวิทยุสมัครเล่นจึงถูกเรียกว่า ham ? เริ่มเมื่อไหร่ ? และเริ่มที่ไหน ? การสืบเสาะของเขาเพิ่งสิ้นสุดลงเมื่อไม่นานมานี้เอง หลังจากที่ได้อ่านหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ ฉบับประจำวันอาทิตย์ ซึ่งได้ตีพิมพ์บทความที่เยี่ยมยอดบทความหนึ่งเกี่ยวกับกิจกรรมอดิเรกของพวก เรา และในนั้นได้บอกเล่าที่มาของคำว่า ham ด้วย! ลองติดตามอ่านดูซิครับว่าเป็นมาอย่างไรกันแน่

ในบทความนั้นกล่าวว่า เมื่อประมาณ 75 ปีมาแล้ว มีวารสารฉบับหนึ่งชื่อ Home Amateur Mechanic ได้จัดทำพิเศษฉบับหนึ่งเกี่ยวกับการประกอบสร้างวิทยุสำหรับใช้ในบ้านด้วย ตนเอง เจ้าของเครื่องที่ประกอบแล้วนี้ถูกขนานนามว่า hams

ถึงตอนนี้ นายบิลก็ร้องอ๋อเพราะคิดว่ารู้ที่มาของคำว่า ham แล้ว อยู่มาวันหนึ่งเขาก็ไปเล่าเรื่องที่อ่านมานี้ให้เพื่อนเก่าคนหนึ่งที่มีนาม เรียกขานว่า W4IIZ ฟัง แล้วเขาก็ต้องปวดหัวหนักขึ้นไปอีกเพราะ W4IIZ ยืนยันว่าบทความในหนังสือผิดแน่ ๆ ! ว่าแล้วก็สาธยายให้ฟังว่า จริง ๆ แล้วคำว่า ham นี้มีที่มาจากนักวิทยุสมัครเล่นชาวอังกฤษ ตอนแรกก็เรียกตัวเองว่า amateurs (สมัครเล่น) แต่มาเพี้ยนเอาก็เพราะการออกเสียงของพวกค็อกนี่ย์ (Cockney) ซึ่งเป็นคนในท้องถิ่นยากจนของกรุงลอนดอน พวกค็อกนี่ย์นี้เวลาเวลาออกเสียงอะไรมักจะตัดตัวอักษรตัวแรกออก หรือบางทีก็ชอบออกเสียงโดยเหมือนกับมีตัว “h” นำหน้า ดังนั้นเวลาออกเสียงคำว่า “amateurs” ก็เลยออกเสียงเหมือนกับมีตัว “h” นำหน้าเพิ่มขึ้นมากลายเป็น h amateurs นานเข้าจึงสั้นลงเป็น hams ซึ่งสไตล์การออกเสียงของพวกค็อกนี่ย์ทำนองนี้มีตัวอย่างมาชักแม่น้ำทั้งห้า ได้มากมาย…

คัดลอกจาก : หนังสือ CQ CQ CQ รวบรวมสาระความรู้ที่หาอ่านได้ยากสำหรับนักวิทยุสมัครเล่น
โดย ทนง โชติสรยุทธ์ (HS1CH) หน้า 104


http://MoneyandTask.com/?refid=61365

จรรยาบรรณของนักวิทยุสมัครเล่น




จรรยาบรรณของนักวิทยุหมายถึง หลักจริยธรรมของนักวิทยุสมัครเล่น ซึ่งได้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นหลักแห่งการประพฤติและปฏิบัติ ของนักวิทยุ เพื่อจุดมุ่งหมายแห่งความสามัคคี และความเรียบร้อยในสังคมส่วนรวมเป็นสำคัญ จรรยาบรรณของนักวิทยุสมัครเล่น ที่จะนำเสนอนี้ Paul M. Segal, W9EEA, in 1928 (พ.ศ.2471) และได้รับเกียรติจาก ARRL ให้ถือเป็นหลักปฏิบัติและตีพิมพ์อยู่หน้าแรกของหนังสือ Radio Amateur Handbook ทุกฉบับติดต่อกันมานานจนถึงปัจจุบัน มีใจความโดยสรุป เพื่อประยุกต์ใช้กับนักวิทยุสมัครเล่นไทย ดังนี้

1. พึงละเว้นการเล่นวิทยุที่ก่อให้เกิดความรำคาญใจแก่ผู้อื่น
2. พึงให้การส่งเสริมและสนับสนุนแก่นักวิทยุสมัครเล่นอื่น ๆ ตลอดจนสถานีของชมรม สมาคมในท้องที่ และสมาคมที่เป็นตัวแทนของประเทศ
3. พึงศึกษา หาความรู้ เพื่อพัฒนาสถานีของตนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
4. พึงทำงานให้ช้าลงเมื่อได้รับการร้องขอ ให้คำแนะนำด้วยความเป็นมิตร แก่ผู้เข้าสู่วงการใหม่ ด้วยความเมตากรุณา และพร้อมจะให้ความร่วมมือ แก่ผู้สนใจอื่น ๆ ด้วยความเต็มใจ
5. พึงละเว้น การเล่นวิทยุที่มีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของครอบครัว การงาน โรงเรียน หรือชุมชน
6. พร้อมเสมอที่จะใช้ความรู้ความสามารถ เพื่อจะรับใช้ประเทศ และชุมชนของตนเอง


ข้อมูลจากหนังสือคู่มือนักวิทยุสมัครเล่น


http://MoneyandTask.com/?refid=61365

จิตสำนึกในการใช้วิทยุสื่อสาร



จากการที่ความต้องการในการใช้วิทยุสื่อสารไม่ได้ลดน้อยถอยลง ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีในการสื่อสารจะพัฒนาไปมากเพียงใดก็ตาม แต่กลับมีผู้ต้องการใช้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอาสาสมัคร เช่น อปพร. หน่วยกู้ชีพ หน่วยกู้ภัย ซึ่งบางท่านก็มีความรู้เกี่ยวกับวิทยุสื่อสารเป็นอย่างดี อีกทั้งได้ผ่านการอบรมหรือการสอบการใช้ฟังวิทยุสื่อสารมาแล้ว

แต่บางท่านก็ไม่รู้อะไรมากไปกว่าการแอบเปิดฟังข่ายราชการเท่านั้น
         
แต่ที่หนักไปกว่านั้นก็คือเกิดคันไม้คันมือกดคีย์ออกอากาศ จะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตามแล้วก่อให้เกิดการรบกวนการประสานงานของหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวกับความมั่นคงแห่งชาติ ก็อาจโดนจับกุมดำเนินคดีมีโทษทั้งจำคุกและปรับ เดือดร้อนกันไปเปล่าๆ

        ปัญหาอีกอย่างหนึ่งก็คือ ผู้ที่มีเครื่องเปิดแบนด์อยู่ ได้ตั้งความถี่ขึ้นใช้เรียกขานในกลุ่มของตนเอง โดยขาดความรู้ความเข้าใจ โดยหารู้ไม่ว่า ความถี่ตลอดย่านจะมีหน่วยงานต่างๆ ใช้งานกันอยู่ตลอด เช่น หน่วยงานเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งชาติ บก.ทหารสูงสุด ตำรวจ ปกครองกิจการวิทยุสมัครเล่น เป็นต้น

         ตลอดย่านความถี่ VHF ตั้งแต่ 136.000 MHz จนถึง 174.000 MHz จะมีหน่วยงานต่างๆ ใช้งานอยู่จนเต็มตามที่ได้รับจัดสรรตลอดทั้งย่าน


         อยากใช้ให้ถูก..... ไม่อยากเล่นเถื่อน...

         ก็แค่เล่นวิทยุ ไม่เห็นต้อง จับ – ปรับ – ขัง เล้ย
         แหม...คุณก็... นี่มันเกี่ยวกับความมั่นคงของชาตินี่ครับ

         หากว่าใครๆ ก็ใช้ อยากตั้งความถี่อะไรก็ตั้งหน่วยงานราชการ, หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็คงประสานงานกันไม่ได้ผล ประชาชนก็ไม่มีความสุข ชาติบ้านเมืองก็คงวุ่นวาย เมื่อเกิดสาธารณภัยก็ไม่สามารถให้ความช่วยเหลือได้ทันท่วงที

         ใน พรบ. วิทยุคมนาคม ก็ได้มีการกล่าวถึงความผิดต่างๆ ที่เกี่ยงข้องกับการใช้วิทยุคมนาคมไว้หลายข้อด้วยกันจะขอยกมากล่าวเฉพาะที่ใกล้ๆ ตัวสักเล็กน้อย


ฐานความผิด/อัตราโทษ
1.มีและใช้ซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับใบอนุญาต
ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท จำคุกไม่เกิน 5 ปี
หรือทั้งจำทั้งปรับ

2.ตั้งสถานีวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับใบอนุญาต
ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท จำคุกไม่เกิน 5 ปี
หรือทั้งจำทั้งปรับ

3.ใช้ความถี่ที่ไม่ได้รับอนุญาต   
บไม่เกิน 1 แสนบาท จำคุกไม่เกิน 5 ปี 
หรือทั้งจำทั้งปรับ

4.เป็นพนักงานวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับใบอนุญาต อัตราโทษ             
ปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาทจำคุกไม่เกิน 2 ป
ี หรือทั้งจำทั้งปรับ


แล้วอย่างนี้จะรู้ได้ไง... ว่ามีสิทธิ์ใช้แบบไหน...? (เห็นใช้มั่วไปหมด)

         เครื่องวิทยุคมนาคมแบบสังเคราะห์ความถี่ มีอยู่ 2 ประเภท

1. เครื่องวิทยุคมนาคมแบบสังเคราะห์ความถี่ ประเภท 1 ผู้ใช้ตั้งความถี่ได้เองจากภายนอกเครื่อง
หน่วยงานที่มีสิทธิ์ใช้ได้แก่
    1.กองทัพบก
    2.กองทัพอากาศ
    3.ทัพเรือ
    4.สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
    5.สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
    6.สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
    7.กรมศุลกากร
    8.สำนักข่าวกรองแห่งชาติ
    9.สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
    10.กระทรวงมหาดไทย เฉพาะบุคคลที่ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้
ปลัดกระทรวงมหาดไทยและรองปลัดกระทรวงมหาดไทย
เลขานุการปลัดกระทรวงมหาดไทยและเลขานุการรองปลัดกระทรวงมหาดไทย
กิจการวิทยุสมัครเล่น

2. เครื่องวิทยุคมนาคมแบบสังเคราะห์ความถี่ประเภท 2 (ผู้ใช้ตั้งความถี่เองไม่ได้)
ผู้ที่มีสิทธิ์ใช้ได้แก่
1.บุคคลที่มีฐานะดังนี้
    1.1.เป็นข้าราชการทุกระดับ พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานองค์การของรัฐ ลูกจ้างประจำ
    1.2เป็นพนักงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา สภาตำบล องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆ
    1.3ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน กำนัน สารวัตรกำนัน หรือแพทย์ประจำตำบล
    1.4เป็นบุคคลธรรมดา ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ความถี่ร่วมกับหน่วยราชการ หรือ รัฐวิสาหกิจอื่นที่ได้รับจัดสรรความถี่วิทยุ
2.ผ่านการฝึกอบรม การใช้เครื่องวิทยุแบบสังเคราะห์ความถี่ประเภท 2 และตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับการสื่อสาร พ.ศ. 2525
3.ต้องได้รับความเห็นชอบ จากหัวหน้า หน่วยงานราชการหรือรัฐวิสาหกิจ แล้วแต่กรณีว่ามีความจำเป็นต้องใช้เครื่องวิทยุคมนาคมแบบสังเคราะห์ความถี่ ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามกฏหมายวิทยุคมนาคมและระเบียบที่ทางราชการกำหนด

ทำยังไง..? ถึงจะมีสิทธิใช้โดยถูกต้อง

ง่ายๆ หากต้องการใช้วิทยุสื่อสารให้ถูกต้องให้ยึดหลัก “3 ค” ดังจะกล่าวต่อไปนี้
ค. ที่ 1 ความถูกต้อง คือ ต้องอยู่ในย่านความถี่ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
ค. ที่ 2 เครื่องถูกต้อง คือได้มาตามขั้นตอนตามกฏหมาย เช่นนำเข้าโดยถูกต้องและได้เสียภาษีนำเข้ากับกรมศุลกากรและเครื่องจะมีหมายเลข กทช. กำกับ
ค. ที่ 3 คนถูกต้อง ซึ่งหมายความว่าผู้ใช้ต้องผ่านการอบรมหรืออบรมและสอบหรือสอบ เช่นผู้ที่ใช้ร่วมข่ายราชการต้องผ่านการอบรมการใช้วิทยุสังเคราะห์ความถี่ตามระเบียบที่กำหนด ผู้ที่ใช้ความถี่ข่ายวิทยุสมัครเล่นต้องผ่านการอบรมและสอบหรือการสอบเพื่อรับใบประกาศพนักงานวิทยุสมัครเล่น

ดังนั้น ไม่ว่าจะใช้ร่วมข่ายราชการ หรือเป็นนักวิทยุสมัครเล่น ที่สำคัญ ต้องทำให้ตนเองมีสิทธิ์ก่อน เช่น หากเป็น อปพร. ก็ต้องผ่านการอบรมการใช้วิทยุสังเคราะห์ความถี่ประเภทสอง และต้องเป็นการอบรมโดยกองการสื่อสารกรมการปกครอง
แต่ อปพร. อาสาสมัคร รวมทั้งภาคเอกชน ยังมีทางเลือกอีกหนึ่งทาง นั่นก็คือ  การใช้วิทยุย่านความถี่ประชาชน ซึ่งก็มีทั้ง CB27 MHz 78 MH, 245 MHz โดยเฉพาะอย่างยิ่งความถี่ประชาชนย่าน 245 MHz ประสิทธิภาพทุกอย่างก็ไม่ด้อยไปกว่าเครื่องข่ายราชการหรือสมัครเล่นเลย 



ข้อมูลจาก
เอกสารประกอบการอบรมการใ้ช้วิทยุฯแบบสังเคราะห์ความถี่ กรมไปรษณีย์โทรเลข


http://MoneyandTask.com/?refid=61365

แบนด์แพลน วิทยุสมัครเล่น ใหม่ล่าสุด 2557



บทความเขียนโดย เครดิต HS3LZX  ผมเห็นว่ามีประโยชน์จึงมาโพสต์ไว้เป็นข้อมูลสำหรับทุกท่านที่เป็นนักวิทยุสมัครเล่น

อัพเดทตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การอณุญาตและกำกับดูแลกิจการวิทยุสมัครเล่น โดยได้มีการปรับปรุงแตกต่างจาก แบนด์แพลน (Band Plan) เดิมพอสมควร ความถี่เดิมที่ท่านใช้ประจำอาจจะขัดกับแบนดืแพลนใหม่นี้ก็ได้ เพราะฉนั้นเป็นเรื่องสำคัญที่ท่านต้องทำความเข้าใจและปฏิบัติให้ถูกต้อง

โหมด (Mode)

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกับระบบโหมด (Mode) ต่างๆ ที่ใช้ในกิจการวิทยุสมัครเล่นก่อน ดังนี้

การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง (Phone) ให้ใช้รับส่งข่าวสารโดยใช้เสียงพูด (Speech)
การติดต่อสื่อสารด้วยการสะท้อนคลื่นวิทยุจากผิวดวงจันทร์ (Earth Moon Earth : EME)
การติดต่อสื่อสารสะท้อนหางดาวตก (Meteor scatter : MS)
การติดต่อสื่อสารด้วยสัญญาณแบบคลื่นต่อเนื่อง (Continous wave : CW)
การติดต่อสื่อสารด้วยสัญญาณแบบคลื่นต่อเนื่องที่มีการมอดูเลต (Modulated continous wave : MCW)
การติดต่อสื่อสารด้วยเครื่องกำเนิดสัญญาณ (Machine generated mode : MGM)
การติดต่อสื่อสารด้วยการผสมคลื่นแบบ Single sideband (SSB)
การติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียมวิทยุสมัครเล่น (Satellite)
การติดต่อสื่อสารด้วยสัญญาณวิทยุโทรพิมพ์ (Radio teletype : RTTY)
การติดต่อสื่อสารด้วยสัญญาณข้อมูล (Data or Packet radio)
การติดต่อสื่อสารด้วยสัญญาณภาพ (Image)
การติดต่อสื่อสารด้วยสัญญาณโทรทัศน์แบบสแกนช้า (Slow scan television : SSTV)
การติดต่อสื่อสารด้วยสัญญาณโทรทัศน์แบบสแกนเร็ว (Fast scan television : FSTV)
การติดต่อสื่อสารด้วยสัญญาณพัลส์ (Pulse)

ขอบเขตการใช้คลื่นความถี่ สำหรับพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น

กำหนดให้ใช้คลื่นความถี่ 28 000 – 29 700 kHz สำหรับการติดต่อสื่อสารเพื่อรับส่งสัญญาณระหว่างสถานีวิทยุสมัครเล่น โดยใช้กำลังส่งไม่เกิน 100 วัตต์
กำหนดให้ใช้คลื่นความถี่ 144 – 146.5 MHz โดยใช้กำลังส่งไม่เกิน 60 วัตต์ สำหรับสถานีวิทยุสมัครเล่นควบคุมข่ายให้ใช้กำลังส่งไม่เกิน 100 วัตต์
กำหนดให้ใช้คลื่นความถี่ 435 – 438 MHz สำหรับการติดต่อสื่สารผ่านดาวเทียมวิทยุสมัครเล่น (Satellite) เฉพาะด้านรับ (Downlink) จากดาวเทียมมายังสถานีวิทยุสมัครเล่นเท่านั้น
กำหนดให้ใช้คลื่นความถี่ 1 260 – 1 270 Mhz สำหรับการติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียมวิทยุสมัครเล่น (Satellite) เฉพาะด้านรับ (Downlink) จากดาวเทียมมายังสถานีวิทยุสมัครเล่นเท่านั้น



การใช้คลื่นความถี่ 144 – 146.5 MHz

กำหนดคลื่นความถี่ 144.0000 – 144.1000 MHz สำหรับการติดต่อสื่อสารสัญญาณแบบคลื่นต่อเนื่อง (CW) และการติดต่อสื่อสารด้วยการสะท้อนคลื่นวิทยุจากผิวดวงจันทร์ (EME) โดยคลื่นความถี่ 144.0500 MHz เป็นช่องเรียกขานสำหรับ CW

กำหนดคลื่นความถี่ 144.1000 – 144.1500 MHz สำหรับการติดต่อสื่อสารสัญญาณแบบคลื่นต่อเนื่อง (CW) การติดต่อสื่อสารด้วยเครื่องกำเนิดสัญญาณ (MGM) และการติดต่อสื่อสารด้วยการสะท้อนคลื่นวิทยุจากผิวดวงจันทร์ (EME)

กำหนดคลื่นความถี่ 144.1500 – 144.3750 MHz สำหรับการติดต่อสื่อสารด้วยการผสมคลื่นแบบ Single sideband (SSB) และการติดต่อสื่อสารสะท้อนหางดาวตก (Meteor scatter : MS) โดยคลื่นความถี่ 144.2000 MHz เป็นช่องเรียกขานสำหรับ SSB

กำหนดคลื่นความถี่ 144.3750 – 144.5000 MHz สำหรับการติดต่อสื่อสารประเภทอื่นดังนี้

กำหนดคลื่นความถี่ 144.3900 MHz สำหรับการสื่อสารระบบกำหนดตำแหน่งสถานีวิทยุสมัครเล่นอัตโนมัติ 
(Automatic Packet Reporting System : ARPS)

- กำหนดคลื่นความถี่ 144.4125 – 144.4375 MHz สำหรับการติดต่อสื่อสารประเภทอื่นได้แก่ การติดต่อสื่อสารด้วยสัญญาณข้อมูล (Data or Packet radio) การติดต่อสื่อสารด้วยสัญญาณวิทยุโทรพิมพ์ (Radio teletype : RTTY) การติดต่อสื่อสารด้วยสัญญาณภาพ (Image) การติดต่อสื่อสารด้วยสัญญาณโทรทัศน์แบบสแกนช้า (Slow scan television : SSTV) และการติดต่อสื่อสารด้วยสัญญาณแบบคลื่นต่อเนื่องที่มีการมอดูเลต (Modulated continous wave : MCW)

- กำหนดคลื่นความถี่ 144.4500 – 144.4900 MHz สำหรับการใช้งานประเภทให้สัญญาณ (Beacon) ของสถานีวิทยุสมัครเล่นสำหรับกิจกรรมพิเศษ เท่านั้น โดยกำหนดให้คลื่นความถี่ 144.4900 MHz สำหรับการใช้งานประเภทให้สัญญาณ (Beacon) แบบ WSPR


กำหนดคลื่นความถี่ 145.8000 – 146.0000 MHz สำหรับการส่งสัญญาณระหว่างดาวเทียมวิทยุสมัครเล่นกับสถานีวิทยุสมัครเล่นเท่านั้น
กำหนดคลื่นความถี่สำหรับการรับส่งสัญญาณระหว่างสถานีวิทยุสมัครเล่นแบบซิมเพล็กซ์ (Simplex) โดยกำหนดช่องความถี่วิทยุ ดังนี้
ช่องที่   คลื่นความถี่ (MHz)   ลักษณะการใช้งาน

่ช่องที่   คลื่นความถี่ (MHz)   ลักษณะการใช้งาน

1         144.5125                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
2         144.5250                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
3         144.5375                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
4         144.5500                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
5         144.5625                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
6         144.5750                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
7         144.5875                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
8         144.6000                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
9         144.6125                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
10       144.6250                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
11       144.6375                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
12       144.6500                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
13       144.6625                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
14       144.6750                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
15       144.6875                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
16       144.7000                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
17       144.7125                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
18       144.7250                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
19       144.7375                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
20       144.7500                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
21       144.7625                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
22       144.7750                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
23       144.7875                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
24       144.8000                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
25       144.8125                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
26       144.8250                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
27       144.8375                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
28       144.8500                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
29       144.8625                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
30       144.8750                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
31       144.8875                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
32       144.9000                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียงสำหรับเรียกขานและแจ้งเหตุทั่วไป (General notice and Calling)
33       144.9125                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
34       144.9250                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
35       144.9375                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
36       144.9500                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
37       144.9625                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
38       144.9750                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
39       144.9875                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
40       145.0000                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง สำหรับเรียกขานและแจ้งเหตุฉุกเฉิน (Emergency, Distress and Calling) และ เป็นคลื่นความถี่กลางสำหรับประสานงานระหว่างหน่วยงานของรัฐและพนักงาน
วิทยุสมัครเล่น


41       145.1375                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
42       145.1500                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
43       145.1625                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
44       145.1750                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
45       145.1875                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
46       145.2000                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
47       145.2125                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
48       145.2250                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
49       145.2375                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
50       145.2500                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
51       145.2625                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
52       145.2750                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
53       145.2875                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
54       145.3000                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
55       145.3125                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
56       145.3250                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
57       145.3375                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
58       145.3500                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
59       145.3625                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
60       145.3750                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
61       145.3875                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
62       145.4000                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
63       145.4125                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
64       145.4250                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
65       145.4375                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
66       145.4500                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง / กิจกรรมพิเศษ
67       145.4625                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง / กิจกรรมพิเศษ
68       145.4750                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง / กิจกรรมพิเศษ
69       145.4875                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง / กิจกรรมพิเศษ
70       145.7375                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียงโดยเชื่อมโยงผ่านโครงข่ายอื่น
71       145.7500                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียงโดยเชื่อมโยงผ่านโครงข่ายอื่น
72       145.7625                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียงโดยเชื่อมโยงผ่านโครงข่ายอื่น
73       145.7750                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียงโดยเชื่อมโยงผ่านโครงข่ายอื่น
74       145.7875                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียงโดยเชื่อมโยงผ่านโครงข่ายอื่น
84       146.2375                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
85       146.2500                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
86       146.2625                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
87       146.2750                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
88       146.2875                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
89       146.3000                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
90       146.3125               การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
91       146.3250                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
92       146.3375                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
93       146.3500                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
94       146.3625                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
95       146.3750                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
96       146.3875                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
97       146.4000                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
98       146.4125                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
99       146.4250                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
100     146.4375                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
101     146.4500                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
102     146.4625                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
103     146.4750                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง
104     146.4875                 การติดต่อสื่อสารประเภทเสียง

คลื่นความถี่สำหรับสถานีทวนสัญญาณ
คลื่นความถี่สำหรับการรับส่งสัญญาณระหว่างสถานีวิทยุสมัครเล่นแบบ Semi-duplex หรือสถานีรีพีทเตอร์ที่เราคุ้นเคยนั่นแหละครับ ดังนี้

คู่ที่        คลื่นความถี่รับ(MHz)        คลื่นความถี่ส่ง(MHz)            ลักษณะการใช้
1          145.0125                   145.6125          สำหรับสถานีวิทยุสมัครเล่นประเภททวนสัญญาณ 
                                                                 (สำรองการใช้งานเพื่อรองรับเทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้นในอนาคต)
2          145.0250                   145.6250          สำหรับสถานีวิทยุสมัครเล่นประเภททวนสัญญาณ
3          145.0375                   145.6375          สำหรับสถานีวิทยุสมัครเล่นประเภททวนสัญญาณ
4          145.0500                   145.6500          สำหรับสถานีวิทยุสมัครเล่นประเภททวนสัญญาณ
5          145.0625                   145.6625          สำหรับสถานีวิทยุสมัครเล่นประเภททวนสัญญาณ
6          145.0750                   145.6750          สำหรับสถานีวิทยุสมัครเล่นประเภททวนสัญญาณ
7          145.0875                   145.6875          สำหรับสถานีวิทยุสมัครเล่นประเภททวนสัญญาณ
8          145.1000                   145.7000          สำหรับสถานีวิทยุสมัครเล่นประเภททวนสัญญาณ
9          145.1125                   145.7125          สำหรับสถานีวิทยุสมัครเล่นประเภททวนสัญญาณ
10        145.1250                   145.7250          สำหรับสถานีวิทยุสมัครเล่นประเภททวนสัญญาณ
11        145.5000                   146.1000          สำหรับสถานีวิทยุสมัครเล่นประเภททวนสัญญาณ
12        145.5125                   146.1125          สำหรับสถานีวิทยุสมัครเล่นประเภททวนสัญญาณ
13        145.5250                   146.1250          สำหรับสถานีวิทยุสมัครเล่นประเภททวนสัญญาณ
14        145.5375                   146.1375          สำหรับสถานีวิทยุสมัครเล่นประเภททวนสัญญาณ
15        145.5500                   146.1500          สำหรับสถานีวิทยุสมัครเล่นประเภททวนสัญญาณ
16        145.5625                   146.1625          สำหรับสถานีวิทยุสมัครเล่นประเภททวนสัญญาณ
17        145.5750                   146.1750          สำหรับสถานีวิทยุสมัครเล่นประเภททวนสัญญาณ
18        145.5875                   146.1875          สำหรับสถานีวิทยุสมัครเล่นประเภททวนสัญญาณ 
                                                                (สำรองการใช้งานเพื่อรองรับเทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้นในอนาคต)
19        145.6000                   146.2000          สำหรับสถานีวิทยุสมัครเล่นประเภททวนสัญญาณ 
                                                                (สำรองการใช้งานเพื่อรองรับเทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้นในอนาคต)



http://MoneyandTask.com/?refid=61365